การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาฝรั่งเศสเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการโรงแรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยผ่านรูปแบบการจัดการการเรียนรู้บนสังคมฐานความรู้ กรณีศึกษา: ภาษาฝรั่งเศสในบริบทอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ปิยจิตร สังข์พานิช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ภาษาฝรั่งเศส, การท่องเที่ยวและการโรงแรม, การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม, ไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาฝรั่งเศสเพื่ออุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและการโรงแรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยผ่านรูปแบบการจัดการการเรียนรู้บนสังคมฐานความรู้ กรณีศึกษา: ภาษาฝรั่งเศสในบริบท อาเซียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะภาษาฝรั่งเศสเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3) ศึกษา ระดับเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกทักษะภาษาฝรั่งเศส เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ การโรงแรม กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิโดยการกำหนดพื้นที่เฉพาะเขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตวัฒนา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร จากนั้นใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลาก ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 1 กลุ่ม 30 คน และดำเนินการทดลองแบบ Pre-test Post-test Design ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.953 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะภาษาฝรั่งเศสเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ การโรงแรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.63/83.55 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะภาษา ฝรั่งเศสเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม พบว่า หลังการใช้แบบฝึกทักษะภาษา ฝรั่งเศสเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม นักศึกษามีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้ แบบฝึกทักษะ และ 3) ระดับเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกทักษะภาษาฝรั่งเศสอยู่ในระดับดี (X ̅ = 4.33, SD = 0.66)

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (13 กรกฎาคม 2557). สืบค้นจาก https://www.tatnewsthai.org

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา. (2550). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). “การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน”. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1–5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาการสอน หน่วยที่ 10 (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). ศิลปะการสอนเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี กุลละวณิชย์. (2550). มุมมองหนึ่งต่อนโยบายการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของไทย. ในข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนและความต้องการภาษาต่างประเทศในประเทศไทย. ภายใต้ชุดโครงการ นโยบายการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (19 กันยายน 2556). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://gs.rmu.ac.th/rmuj/myfile/intercultural%20communication.doc

ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อประเทศฝรั่งเศส. (4 กรกฎาคม 2557). สืบค้นจาก https://www.thailande.campusfrance.org/th/node/123619

สิรจิตต์ เดชอมรชัย. (2555). การประเมินผลการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ. (4 กันยายน 2557). สืบค้นจาก https://www.asean.moe.go.th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2019