การพัฒนาชุดการเรียนวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • เยาวภา โชติวิชัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา ชุดการเรียน, วิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษา, การคิดวิเคราะห์,

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลัง จากการใช้ชุดการเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนกับการสอนบรรยายในรายวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการเรียน วิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษา แบบประเมินคุณภาพชุดการเรียน และแบบทดสอบเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยใช้แบบแผนการทดลอง Control Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โดยการจับสลากห้องเรียนจำนวน 2 ห้องเรียน จาก 4 ห้องเรียน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มนักศึกษาที่ใช้ชุดการเรียน จำนวน 60 คน 2) กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มนักศึกษาที่ใช้วิธีการสอนบรรยาย จำนวน 60 คน โดยใช้ระยะเวลาในการทดลองตั้งแต่พฤศจิกายน 2555 ถึง พฤษภาคม 2556 สถิติที่ใช้ในการวิจัย Paired – Sample Test และ t-test Independent

ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของชุดการเรียนวิชา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษา มีประสิทธิภาพ 81.08/83.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้เรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนวิชา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษาหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนวิชา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการศึกษาสูงกว่า นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบบรรยาย  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Downloads