ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากอะมอร์ฟัสซิลิคอน ชนิดเซลล์ซ้อนที่ผลิตโดยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน

ผู้แต่ง

  • สามารถ รุกพล

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์, เงื่อนไขที่แตกต่างกัน,

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพและพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากอะมอร์ฟัสซิลิคอนชนิดเซลล์ซ้อนที่ผลิตโดยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ.2555 โดยทำการวิจัยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติตามขั้นตอนดังนี้ 1) ทำการสร้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากอะมอร์ฟัสซิลิคอนชนิดเซลล์ซ้อนที่ผลิตโดยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน 4 แบบ 2) ทำการวัดประสิทธิภาพด้วยเครื่องวัดประสิทธิภาพ SPI-SIMULATOR และ 3) ทำการบันทึกผลของประสิทธิภาพและพลังงานโดยใบบันทึกประสิทธิภาพ โดยมีสมมติฐานของการวิจัยว่าเซลล์แสงอาทิตย์มีเงื่อนไขในการสร้างที่แตกต่างกันสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าได้แตกต่างกันและเสื่อมสภาพไม่เท่ากัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการศึกษาประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากอะมอร์ฟัสซิลิคอนชนิดเซลล์ซ้อนที่ผลิตโดยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน 4 แบบพบว่า  1) เงื่อนไขเพิ่มความดัน 1,320 มิลลิทอร์ค่าเฉลี่ยของกำลังไฟฟ้าและประสิทธิภาพสูงสุดลดลง 6.591 วัตต์ และ 0.837 %  2) เงื่อนไขเพิ่มปริมาณแก๊สไซเลน 1.1 ไฮโดรเจน 8.25 สแตนดารด์คิวบิกเซ็นติเมตรค่าเฉลี่ยของกำลังไฟฟ้าและประสิทธิภาพสูงสุดลดลง 4.851 วัตต์ และ 0.636 %  3) เงื่อนไขเพิ่มกำลังไฟฟ้า 440 วัตต์ ค่าเฉลี่ยของกำลังไฟฟ้าและประสิทธิภาพสูงสุดลดลง 9.245 วัตต์ และ 1.170 % และ 4) เงื่อนไขเพิ่มเวลา 1,113 วินาทีค่าเฉลี่ยของกำลังไฟฟ้าสูงสุดและประสิทธิภาพสูงสุดลดลง 8.016 วัตต์ และ 1.538 % โดยสรุปเงื่อนไขที่มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพและกำลังไฟฟ้าสูงสุดคือ เงื่อนไขแบบที่ 1 ซึ่งเพิ่มความดัน 1,320 มิลลิทอร์

Downloads