การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจที่พัก แบบมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ปรเมษฐ์ แสงอ่อน

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ ธุรกิจที่พัก คลองโคน การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาสภาพการบริหารจัดการธุรกิจที่พักที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 2) สร้างแนวทางในการดำรงรักษาการบริหารจัดการธุรกิจที่พักอย่างมีคุณภาพโดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการ 1) สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประกอบการทั้งหมด 18 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงที่มีการบริหารจัดการครบ 9 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 ราย และ 2) ประชุมกลุ่มย่อย ประกอบด้วย 2.1) ผู้ประกอบการ จำนวน 10 ราย 2.2) บุคคลที่เป็นกุญแจสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของชุมชนคลองโคน จำนวน 12 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงช่วงเวลา คือ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 จำนวน 400 คน สุ่มโดยบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความคาดหวังและความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการธุรกิจที่พักในปัจจุบันตามแนวคิดของส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการได้ในระดับดี ด้านราคาทุกแห่งกำหนดราค่าการบริการเอง ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีเว็บไซต์ แผ่นพับ และนามบัตร ด้านส่งเสริมการตลาดจะตัดสินใจขณะเจรจาต่อรอง ด้านบุคคล ทุกแห่งมีการจ้างลูกจ้าง จำนวนลูกจ้างขึ้นอยู่กับขนาดของที่พัก ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ทุกแห่งอยู่ในสภาพที่สะอาดเรียบร้อย ด้านกระบวนการ ทุกแห่งบริหารจัดการตามมาตรฐาน 2) ผลการประชุมกลุ่มย่อย พบว่า จากเกณฑ์มาตรฐาน 9 ด้าน ของโฮมสเตย์ไทย สามารถพัฒนาเป็นคู่มือการบริหารจัดการที่พักที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย การจัดการ 5 ด้าน คือ ด้านจัดเตรียมที่พัก ด้านอาหาร ด้านความปลอดภัย ด้านระบบการจอง ด้านการต้อนรับและการลงทะเบียนเข้าพัก 3) ผลการศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า ในภาพรวมความคาดหวังอยู่ในระดับมากและความพึงพอใจมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2015