การพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภาคกลาง : กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ทวีพงษ์ รินนาศักดิ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยผู้นำ ศักยภาพผู้นำท้องถิ่น ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่น 2) ศึกษาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่น 3) ศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมของผู้นำความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนใช้ทั้ง การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจากผู้นำท้องถิ่นจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดปทุมธานี จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่แบบสอบถามการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่น พฤติกรรมผู้นำ คุณลักษณะผู้นำ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ การเตรียมความพร้อมของผู้นำและศักยภาพผู้นำท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .84, 0.87, 0.89, .89, และ 0.91 และแบบสัมภาษณ์ 12 ชุด แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านสังคม 4) ด้านวัฒนธรรม 5) ด้านสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยผู้นำ ทั้ง 4 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับศักยภาพผู้นำท้องถิ่น เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พหุคูณ เท่ากับ 0.77 แสดงว่า ปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นร้อยละ 60.3 2) ปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยมีค่านำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.37, 0.35 และ 0.09 ยกเว้นด้านคุณลักษณะผู้นำไม่มีผล 3) แนวทางการเตรียมความพร้อมของผู้นำ มีการส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้ตามมาตรฐานสากล การบริการการท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา ภาษาอาเซียน และพัฒนาความร่วมมือด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพ การป้องกันและควบคุมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ

Downloads