ศึกษาพัฒนาการการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์, เกษมศรี อัศวศรีพงศ์ธร, ฐิติวัสส์ สุขป้อม

คำสำคัญ:

การคิดวิเคราะห์ การพัฒนา การเรียนรู้แบบมีโครงสร้าง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา และ 2) ติดตามพัฒนาการ การคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจำแนก ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการสรุป ด้านการประยุกต์และด้านการคาดการณ์ โดยใช้ 10 กิจกรรม การเรียนรู้แบบมีโครงสร้าง (Ten Structured Learning Exercise) TSLE และใช้คำถาม 5 W 1 H ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ และร้อยละ

     ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถการคิดวิเคราะห์ในด้านประยุกต์ มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการสรุป และด้านการคาดการณ์ ส่วนความสามารถการคิดวิเคราะห์ที่น้อยที่สุดคือ ด้านการจัดหมู่ เมื่อจำแนกการคิดวิเคราะห์ตามความสามารถในการทำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ต่อเนื่อง และไม่ต่อเนื่อง พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่คิดวิเคราะห์ได้ไม่ต่อเนื่อง เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เพศหญิงสามารถทำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องมากกว่าเพศชาย เมื่อจำแนกตามเกรดเฉลี่ย พบว่า นักศึกษาทุกเกรดเฉลี่ย ทำแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ได้ไม่ต่อเนื่อง 2) ผลการติดตามพัฒนาการในระยะที่ 1 เปรียบเทียบกับระยะที่ 2 พบว่า เมื่อใช้ 10 กิจกรรม การเรียนรู้แบบมีโครงสร้าง (Ten Structured Learning Exercise) TSLE และใช้คำถาม 5 W 1 H ในการเรียนการสอนในระยะที่ 2 ทำให้นักศึกษา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นกว่าระยะที่ 1 และเมื่อมีการใช้ 10 กิจกรรม การเรียนรู้แบบมีโครงสร้าง (Ten Structured Learning Exercise) TSLE และใช้คำถาม 5 W 1 H รวมกับการนำเสนอการนำเสนอหน้าชั้นเรียนในระยะที่ 3 นักศึกษาสามารถทำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ไม่ต่อเนื่องมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ทำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ต่อเนื่องลดลง

Downloads