@article{ธีระวิทยเลิศ_2018, title={การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกับจริยธรรมการวิจัย}, volume={24}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/160318}, abstractNote={<p>จริยธรรมการวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักวิจัยทุกสาขาที่ต้องยึดมั่นไว้เสมอ การกระทำที่ไม่ถูกต้องทำให้ผลงานวิจัยขาดความน่าเชื่อถือ เช่น การปลอมแปลงหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (Falsification) การลอกเลียนแบบโดยมิชอบผิดจริยธรรมการวิจัยในเรื่อง การโจรกรรมทางวรรณกรรม (Plagiarism) คือ การคัดลอกงานผู้อื่นมาแล้วไม่อ้างอิง</p> <p>การวิจัยทางการศึกษามีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มุ่งแก้ปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ผู้สอนเป็นผู้วิจัยซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาชาติ พ.ศ. 2553 ที่ระบุว่าให้ผู้สอนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้</p> <p>งานวิจัยที่ต้องการทดสอบสมมุติฐานและใช้สถิติทดสอบทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นสำหรับนักวิจัย คือ การที่นักวิจัยเขียนรายงานในขั้นการสุ่มตัวอย่างว่ามีการสุ่มและใช้สถิติ t-test การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะการศึกษาจากประชากรไม่มีการสุ่มตัวอย่างเหมือนการวิจัยทางการศึกษาที่ศึกษากับประชากรกลุ่มใหญ่ จึงไม่สามารถใช้สถิติทดสอบได้ ควรใช้สถิติบรรยาย เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ อาจใช้การนำเสนอด้วยแผนภูมิต่าง ๆ ประกอบ สามารถตอบสมมุติฐานได้โดยไม่ต้องผิดจริยธรรมด้านการบิดเบือนข้อเท็จจริง</p>}, number={47}, journal={จันทรเกษมสาร}, author={ธีระวิทยเลิศ ปัญญา}, year={2018}, month={ธ.ค.}, pages={33–47} }