คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิง

ผู้แต่ง

  • วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี โครงการรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิง 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิง และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 29 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดูแลของสถานสงเคราะห์ที่ดำเนินการโดยเอกชนและแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิงมีความพึงพอใจมากที่สุดด้านที่พักอาศัย ด้านอาหาร ด้านเครื่องนุ่งห่ม และด้านการดูแลรักษา ส่วนด้านการทำกิจกรรมงานอดิเรก ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจมาก 2) ผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิงมีคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสังคมนั้นผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกับความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดูแลของสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิง พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกับความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดูแลของสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิงมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. บทความวิชาการ, 3 (16), 1-19.

นูรซาฮีดา เจ๊ะมามะ. (2558). ประสบการณ์ความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราในเขตภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ประภาพร มโนรัตน์. (2556). ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง: ผลกระทบและบทบาทสังคมกับการดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 5 (2), 99-102.

ปีรพจน์ เพชรมีศรี. (2557). ความหมายของคำว่าบ้านในบ้านพักคนชราบ้านบางแค กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

สุจิตรา สมพงษ์ และนงนุช โรจนเลิศ. (2557). ความสุขของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา ในจังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6 (1), 213-216.

สุชาติ โสมประยูร. (2542). สุขภาพเพื่อชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF–THAI). เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ความรุนแรงในผู้สูงอายุความจริงที่สังคมไทยคาดไม่ถึง. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/categories/3/1/86%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวัง. วารสารข่าวเตือนภัย, 6(28), 1.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อัมพรพรรณ ธีรานุตร, ปัทมา สุริต, จุธาลักษณ์ แก้วมะไฟ, นิตยา สุวรรณเพชร และเสาวลักษณ์ อุ่นละม้าย. (2552). คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2551). จิตวิทยาผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Orem, D.E. (1985). Nursing Concepts of Practice (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018