การจัดการนากุ้งร้างเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • กษิภพ ฤทธิไชย
  • จินตนา อมรสงวนสิน

คำสำคัญ:

นากุ้งร้าง, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, ชุมชนคลองโคน,

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพพื้นที่นากุ้งร้าง ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามด้วยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนในมิติการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่รัฐ3 ราย ผู้นำชุมชน 2 ราย เจ้าของนากุ้งร้าง7ราย เจ้าของธุรกิจที่พัก 2ราย รวม 14 คนศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการปลูกป่าชายเลนคืนสู่ระบบนิเวศ ขายคาร์บอนเครดิต และขายถ่าน โดยใช้หลักการ วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทน (IRR) และอัตราส่วนกำไร-ต้นทุน (BCA) และเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการนากุ้งร้างในมิติการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลการศึกษาพบว่าตำบลคลองโคนมีพื้นที่นากุ้งร้างประมาณ 15,000 ไร่ และเมื่อลงพื้นที่จริง การเลี้ยงกุ้ง ส่งผลเสียหายทำให้เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเสียหาย ปัจจุบัน (ปี2556) ชุมชนมีอาชีพเลี้ยงหอยแครง จับสัตว์น้ำ และอนุรักษ์ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นในนากุ้งร้างเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และพบว่าการปลูกป่าชายเลนเพื่อการอนุรักษ์มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)มากที่สุดคือ 728,190.19 บาทต่อไร่ เพื่อขายคาร์บอนเครดิตมีมูลค่า 169,483.76บาทต่อไร่ และเพื่อขายถ่านมูลค่า 57,895. 69 บาทต่อไร่ค่าผลตอบแทนภายใน (IRR) พบว่าการปลูกป่าชายเลนเพื่ออนุรักษ์ขายคาร์บอนเครดิต และขายถ่านมีค่าร้อยละ 60 22และ 20 ตามลำดับ และอัตราส่วนกำไร-ต้นทุน (BCA) พบว่าปลูกป่าชายเลนการอนุรักษ์ขายคาร์บอนเครดิตและขายถ่านมีมูลค่า 13.7713.29 และ 5.19 ตามลำดับสรุปได้ว่าชุมชนสนใจในการจัดการนากุ้งร้างโดยการปลูกป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ขายคาร์บอนเครดิต และขายถ่าน แต่ชุมชนยังขาดปัจจัยทางด้านเงินลงทุนในระยะยาว การจัดการอย่างเป็นระบบ และยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต

Downloads