การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

งามนิจ กุลกัน

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอปัจจัยอันส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยเสนอทั้งปัญหา อุปสรรค พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดการองค์ความรู้ของวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรม วิธีการอนุรักษ์ และถ่ายทอดรวมถึงการส่งเสริมวัฒนธรรม ประชาชนและเจ้าหน้าที่ การประชาสัมพันธ์ และงบประมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติร้อยละ ประกอบการพรรณนา ผลการศึกษา พบว่าการจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ยังไม่มีการจดบันทึกองค์ความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมีเพียงการบอกเล่า และการสาธิตโดยอาศัยการจดจำ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญหาย วิธีการอนุรักษ์ถ่ายทอด ส่งเสริมวัฒนธรรม มีการสนับสนุนกลุ่มอาชีพและการจัดโครงการกิจกรรมต่างๆเป็นประจำทุกปีได้แก่ ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีลอยกระทงโดยร่วมมือกับโรงเรียนนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำ แต่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมโดยตรง และวัยรุ่นยังไม่ให้ความสนใจ ทำให้ประชาชนไม่มีการรวมกลุ่มเนื่องจากขาดผู้นำ มีเพียงช่องทางในการประชาสัมพันธ์ได้แก่ อินเทอร์เน็ต รถประกาศ ป้ายประกาศ หนังสือ จดหมาย ใบปลิว แต่ยังไม่ทั่วถึง ไม่ต่อเนื่องและไม่น่าสนใจ อีกทั้งงบประมาณไม่เพียงพอ ประการสุดท้ายขาดความรู้เรื่องการบริหารงบประมาณ ดังนั้น ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงกับการสูญหายให้กลับมาได้รับความนิยม มากกว่าสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ดีคำสำคัญ : วัฒนธรรมท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
กุลกัน ง. (2013). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. Journal of Cultural Approach, 14(25), 18–30. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/10778
Section
Research Article