จิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการประเมินผล

Main Article Content

ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล

Abstract

บทความนี้มุ่งที่จะนำเสนอแนวคิดบนฐานคิดการเรียนรู้ด้วย ใจที่ใคร่ครวญ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดในสภาพแวดล้อมที่เรียบง่าย ที่เอื้อต่อการเรียนรู้สภาพบรรยากาศในการเรียนรู้ เป็นการเรียนที่เห็นคุณค่าของการเรียนรู้จากภายใน (Inner) ให้ความสำคัญและเอาใจใส่จิตใจของผู้เรียนในทุกขณะ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า จิตตปัญญาศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของผู้เรียน และสามารถเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยอาศัยรากฐานของการปฏิบัติ และการฝึกฝนจริง ซึ่งอุดมไปด้วยความจริง ความดี และความงาม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาบุคคล และองค์กรในระดับต่าง ๆ ให้มีการพัฒนาทางด้านจิตใจมากขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation)เกิดอิสรภาพความสุข ความรักเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติอันเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างศานติ โดยจะเน้นการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และส่งผลต่อชีวิตภายในของผู้เรียนจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนผ่าน วิธีการที่ใช้คือการสร้างความรู้เชิงประจักษ์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการมีประสบการณ์ตรงในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนทางกาย การเรียนรู้ผ่านการทำงานศิลปะผ่านการใคร่ครวญทางความคิดโดยอาศัยประสบการณ์และอาศัยแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลายอาทิ การประเมินเหตุควบคู่ไปกับการประเมินผลการประเมินโดยอาศัยมุมมองของผู้เรียนรู้ การประเมิน โดยใช้กระบวนทัศน์แบบบูรณาการ การประเมินโดยใช้หลายกระบวนทัศน์ร่วมกัน และการประเมินที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
พันธุ์วัฒนสกุล ช. (2012). จิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการประเมินผล. Journal of Cultural Approach, 12(22), 36–45. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/1540
Section
Research Article