วิถีชีวิตนักดนตรีตาบอดในสังคมไทย : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สมพร ปานยินดี

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตของนักดนตรีตาบอดในสังคมไทย และเพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ของนักดนตรีตาบอดในสังคมไทย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักดนตรีตาบอดจำนวน9 คน พี่เลี้ยงนักดนตรี 3 คน ผู้ประกอบการในพื้นที่ใกล้เคียงกับการแสดง 3 คน และผู้บริจาค 6 คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณา (Ethnomethodology) วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (ParticipateObservation)ผลวิจัยพบว่า นักดนตรีตาบอด มีครอบครัวโดยแต่งงานกับคนปกติ ภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ระดับการศึกษาสูงสุดคือมัธยมศึกษาตอนต้น นักดนตรีคนตาบอดสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับคนปกตินอกจากการแสดงดนตรีแล้วอาชีพเสริมคือการค้าขาย โดยแสดงดนตรีในสถาบันการศึกษาเป็นหลัก รูปแบบการตั้งวงมีลักษณะความเป็นครอบครัว เครื่องดนตรีเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้แล้ว กลยุทธ์ในการแสดงดนตรีคือการเลือกเพลงให้ตรงกับกลุ่มผู้ฟัง และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังขอเพลงได้ การจัดสรรรายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะแบ่งเท่ากัน ปัญหาและอุปสรรคในการแสดงดนตรีคือ สภาพอากาศ สภาพเศรษฐกิจ การแยกวงเป็นศิลปินเดี่ยวมิจฉาชีพ และเจ้าหน้าที่เทศกิจนักดนตรีตาบอดได้สร้างอัตลักษณ์แห่งตนขึ้นมาผ่านความสามารถในการแสดงดนตรี เพื่อรื้อถอนวาทกรรมของสังคมที่มองว่าเป็นผู้ด้อยโอกาส แต่ถึงแม้ว่านักดนตรีตาบอดจะพยายามสร้างอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนให้สังคมทั่วไปประจักษ์ แต่วิถีชีวิตของพวกเขาก็จำเป็นที่จะยังคงอยู่ในโครงครอบของกฎเกณฑ์ในสังคมบางครั้งนักดนตรีตาบอดได้นำเอาสิ่งที่สังคมคาดหวังและนิยามความหมายให้กับพวกเขามาใช้สร้างอัตลักษณ์คำสำคัญ : วิถีชีวิต นักดนตรีตาบอด อัตลักษณ์

Article Details

How to Cite
ปานยินดี ส. (2014). วิถีชีวิตนักดนตรีตาบอดในสังคมไทย : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร. Journal of Cultural Approach, 14(26), 3–29. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/15658
Section
Research Article