บทบาทของละครย้อนยุคที่มีต่อการสืบสานและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย

Main Article Content

กัญจน์ดามาศ โกพล

Abstract

บทคัดย่อการศึกษาเรื่อง “บทบาทของละครย้อนยุค ที่มีต่อการสืบสาน และอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย” นี้มุ่งเน้นเพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาบทละครย้อนยุค ที่สื่อแสดงให้เห็นมรดกวัฒนธรรมไทย และภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไทยในแต่ละยุคสมัย รวมทั้งศึกษาบทบาท และความสำคัญของละครย้อนยุคในด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้วัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทยสู่ผู้ชม อีกทั้งชี้ให้เห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของละครย้อนยุคในด้านวัฒนธรรมไทยที่มีต่อสังคม ท่ามกลางกระแสความนิยมวัฒนธรรมและสื่อบันเทิงต่างชาติ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม ในการผลักดันให้ละครย้อนยุค ได้รับความสนใจจากผู้ชม ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาบทละครย้อนยุค จำนวน 4 เรื่อง คือ สายโลหิต รัตนโกสินทร์ สี่แผ่นดิน และวนิดาซึ่งละครแต่ละเรื่องเป็นตัวแทนของการสื่อแสดงให้เห็นมรดกวัฒนธรรมไทย และภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไทยในสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึง สมัยรัตนโกสินทร์ คือช่วงปี พ.ศ. 2300 ถึง พ.ศ. 2500ผลการศึกษาพบว่า ละครย้อนยุค เป็นละครที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน ได้สะท้อนให้เห็นถึงรากเหง้าความเป็นไทย ซึ่งผู้แต่งได้จำลองบรรยากาศของยุคสมัยต่าง ๆ ที่ผ่านพ้นไปแล้วในอดีต ให้คนในสมัยปัจจุบันได้รับรู้ ด้วยการถ่ายทอดสำนวนภาษา และบทสนทนาที่มีความแตกต่างจากยุคสมัยปัจจุบัน รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ไทย ออกมาให้เห็นในรูปแบบฉาก และการแต่งกาย ได้ชัดเจนที่สุดนอกจากนี้ยังพบว่า ละครย้อนยุคมีข้อจำกัดในการผลิตหลายประการ เช่น ต้องใช้งบประมาณในการผลิตสูงต้องใช้เวลาศึกษาข้อมูลเป็นเวลานาน ดังนั้น จึงควรมีกองทุน หรือองค์กรที่สนับสนุนละครย้อนยุคโดยตรง เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนความเป็นไทย ยิ่งไปกว่านั้น บทบรรยายใต้ภาพ (Subtitle)และบทละครควรมีหลายภาษา เพื่อผลักดันให้ละครย้อนยุคได้รับความสนใจทั้งในประเทศ และต่างประเทศอย่างจริงจัง และ เพื่อให้ผู้ชมชาวต่างชาติเข้าใจในเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากขึ้นคำสำคัญ : ละครย้อนยุค มรดกวัฒนธรรม การอนุรักษ์ ความเป็นไทย ละครพีเรียด

Article Details

How to Cite
โกพล ก. (2014). บทบาทของละครย้อนยุคที่มีต่อการสืบสานและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย. Journal of Cultural Approach, 14(26), 57–69. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/15661
Section
Research Article