ภาพลักษณ์ขนมไทยในสายตาของเยาวชนไทย

Main Article Content

ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช

Abstract

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ทัศนคติของเยาวชนต่อภาพลักษณ์ขนมไทย
กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนไทย อายุ 15-25 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
เจาะจง(purposive sampling)ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 455 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)ประกอบ
ด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน(Inferential Statistics)ได้แก่
สถิติ t-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และใช้สถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบ
ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่ม
ผลการศึกษา พบว่า เยาวชนไทยส่วนใหญ่ชื่นชอบขนมไทยที่มีรสหวาน โดยซื้อ 2-5 ครั้งต่อ
เดือนแต่ละครั้งจะซื้อน้อยกว่า 50 บาท และส่วนมากจะซื้อที่ร้านค้าในตลาดสดโดยการแนะนำของ
คนรู้จัก เหตุผลที่เลือกบริโภคขนมไทยเนื่องจากขนมไทยมีรสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม รูปแบบบรรจุ
ภัณฑ์มีความสะอาด ปลอดภัย ดูโบราณคลาสสิก และทำจากผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติ ขนมไทย
ที่เยาวชนไทยชอบมากที่สุด คือ ขนมไทยประเภทนึ่ง สำหรับขนมต่างประเทศที่เยาวชนไทยชอบมากที่สุด คือ
ช็อกโกแลต สำหรับทัศนคติของเยาวชนต่อภาพลักษณ์ขนมไทย ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนไทยมีทัศนคติที่ดีต่อ
ภาพลักษณ์ขนมไทยทุกด้าน ยกเว้นเรื่องการแสดงป้ายราคาอย่างชัดเจน การส่งเสริมการตลาด และการโฆษณา
ผ่านสื่อต่างๆ อย่างไรก็ตามเยาวชนไทยที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกันมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์
ขนมไทย ไม่แตกต่างกัน
คำสำคัญ : เยาวชนไทย ทัศนคติ ภาพลักษณ์ ขนมไทย

Article Details

How to Cite
มงคลวนิช ผ. (2014). ภาพลักษณ์ขนมไทยในสายตาของเยาวชนไทย. Journal of Cultural Approach, 15(27), 39–50. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/19769
Section
Research Article