ชนต่างภาษาในทัศนะของชนชั้นนำสยาม : ประวตั ศิ าสตร์นพิ นธ์ ชาตพิ นั ธ์วุ รรณา และความหลากหลายในพหุสังคมรัตนโกสินทร์

Main Article Content

มาโนช พรหมปัญโญ

Abstract

ความมุ่งหวังที่ต้องการให้สังคมไทยเป็นสังคมอุดมความรู้มุ่งบูรณาการความรู้ชัดแจ้งควบคู่กับความรู้ฝังลึกเสริมสร้างสมรรถนะและมีการถ่ายทอดสู่สังคมเพื่อพัฒนาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ แต่อุปสรรคทำให้ความรู้ทั้งสองสวนทางกันในทางปฏิบัติ ด้วยเหตุผล 3 ประการคือด้านข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ไทยไม่พัฒนา และโลกทัศน์ของประชาคมไทยที่มีต่อประเทศรอบด้านไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมเท่าไรนัก ทำให้องค์ความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้านของไทยติดอยู่ในกรอบหรือพรมแดนที่จำกัดฝังลึกในสังคมการศึกษาไทยปัจจุบัน เช่น ปัญหาประการหนึ่งคือ “การหมกมุ่นกับตนของไทย” (Thai Centric) ที่มุ่งให้ไทยคือศูนย์กลางของทุกเรื่อง และมุ่งแสวงหาเพียงความรู้ทางประวัติศาสตร์อันจำกัดในหลักฐาน การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งประเด็นในเรื่องชนต่างภาษาในทัศนะของชนชั้นนำสยาม ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 - 2394 ในจิตรกรรมฝาผนังโครงภาพและประวัติศาสตร์นิพนธ์เพื่อสะท้อนภาพสังคมที่หลากหลายด้วยชาติพันธุ์ที่ถูกละเลย การศึกษาครั้งนี้พบว่า จิตรกรรมฝาผนัง และโครงภาพ เป็นหลักฐานชั้นต้นที่เสนอวิวัฒนาการทางสังคมสยามระหว่างปี พ.ศ.2325 - 2394 ควบคู่กับประวัติศาสตร์นิพนธ์ร่วมสมัย จึงมิได้มีแต่ชนชาวไทย ชาวจีน หรือตะวันตกเท่านั้นหากแต่ชนต่างภาษาเหล่านี้กลับมีบทบาทแฝงเร้นบทบาทร่วมเคลื่อนขับสังคมไปพร้อมกันภายใต้พลวัตแห่งสังคมเศรษฐกิจ การเมืองสยามร่วมสมัย

Article Details

How to Cite
พรหมปัญโญ ม. (2012). ชนต่างภาษาในทัศนะของชนชั้นนำสยาม : ประวตั ศิ าสตร์นพิ นธ์ ชาตพิ นั ธ์วุ รรณา และความหลากหลายในพหุสังคมรัตนโกสินทร์. Journal of Cultural Approach, 13(24), 56–66. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/3455
Section
Research Article