แนวทางการประยุกต์คำสอนในเกสปุตติยสูตรแห่งพระไตรปิฎกเพื่อการสื่อสารจูงใจที่มีประสิทธิภาพ โดยการตีความย้อนกลับ

Main Article Content

ดร.ละเอียด ศิลาน้อย

Abstract

บทคัดย่อ

การสื่อสารเพื่อจูงใจเป็นการสื่อสารที่หวังผลให้ผู้รับสารเชื่อตามที่ผู้ส่งสารต้องการ ซึ่งตามปกติในชีวิตประจำวันนั้น แม้การส่งสารแห่งความรู้ออกไปก็ยังจะมุ่งหวังให้ผู้รับสารเชื่อตามในความรู้ที่ได้สื่อหรือส่งออกไปให้นั้นด้วย ซึ่งแนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารส่วนใหญ่จะเป็นแนวคิดหรือทฤษฎีของทางตะวันตกแทบทั้งสิ้น แต่เมื่อหันมาศึกษาค้นคว้าในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พบว่ามีคำสอนที่ทรงเตือนให้ระมัดระวังไว้ 10 ประการเกี่ยวกับการรับคำสอนของอาจารย์เจ้าลัทธิต่างๆ ในสมัยนั้นหรือเรียกว่าเกี่ยวกับการรับสารในเกสปุตติยสูตร (หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่ากาลามสูตร) ซึ่งเมื่อพิจารณาตีความย้อนกลับก็จะได้แนวทางการสื่อสารเพื่อจูงใจที่แยบคายมาก เป็นต้นว่าทรงเตือนให้ระมัดระวังอย่าปลงใจเชื่อเพราะมีอ้างอยู่ในตำราเพราะผู้คนส่วนใหญ่มักจะเชื่อในตำราอย่างยิ่งเมื่ออ้างอิงตำราก็จะเชื่อ ดังนั้นการตีความย้อนกลับก็คือหากต้องการให้ผู้รับสารเชื่อก็ควรจะนำเสนอสารออกไปโดยอ้างอิงตำราเสมอ ดังนี้เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้เป็นการนำเสนอเทคนิคการตีความแบบใหม่ทางการสื่อสารเป็นครั้งแรกโดยเรียกว่าการตีความย้อนกลับ แต่ทั้งนี้การสื่อสารหรือสื่อความของผู้ส่งสารก็ควรจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมหรือจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพด้วยเป็นสำคัญ (ในกรณีที่ปฏิบัติวิชาชีพ) โดยไม่ฉ้อฉลหลอกลวงผู้รับสารแต่อย่างใดและสุดท้ายก็ควรจะมีการเผยแพร่คำสอนของพระพุทธองค์เกี่ยวกับหลักแห่งความเชื่อในเกสปุตติยสูตรนี้ให้กว้างขวางต่อไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันผู้ส่งสารที่ไม่หวังดีมิให้ทำการฉ้อฉลและเบียดเบียนเอาเปรียบผู้รับสารนั่นเองคำสำคัญ : การสื่อสารเพื่อจูงใจ เกสปุตติยสูตรหรือกาลามสูตร หลักความเชื่อในพระพุทธศาสนา การตีความย้อนกลับ

Article Details

How to Cite
ศิลาน้อย ด. (2013). แนวทางการประยุกต์คำสอนในเกสปุตติยสูตรแห่งพระไตรปิฎกเพื่อการสื่อสารจูงใจที่มีประสิทธิภาพ โดยการตีความย้อนกลับ. Journal of Cultural Approach, 14(25), 69–78. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/10783
Section
Research Article