การสืบทอดพระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมในประเทศไทยและกัมพูชา

Main Article Content

สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล

บทคัดย่อ

     อักษรขอม เป็นชุดอักษรที่ใช้ในการบันทึกในคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานในพื้นที่บางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา ครอบคลุมอาณาบริเวณอาณาจักรสยามตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย อยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ และรวมไปถึงอาณาจักรเขมรที่ถือเป็นต้นกำเนิดของอักษรขอม แต่อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมที่ถูกจัดสร้างขึ้นในอาณาบริเวณดังกล่าวมีการสืบทอดมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกันหรือแตกต่างกัน


     โดยข้อมูลจากนักวิชาการชาวไทยและชาวตะวันตกบางท่านให้ความเห็นว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกอักษรขอมที่มีในกัมพูชานั้น
ได้รับการสืบทอดมาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอักษรขอมในไทย แต่นักวิชาการบางส่วนก็มีความคิดเห็นในเรื่องนี้ในแนวทางที่แตกต่างออกไป กอปรกับยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ในเชิงประวัติศาสตร์การสืบทอดคัมภีร์ และเทียบเคียงเนื้อหาที่ปรากฎจริงในคัมภีร์ จึงทำให้ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมของทั้งสองประเทศ มีแหล่งกำเนิดมาจากที่เดียวกัน หรือแตกต่างกัน


     บทความวิชาการนี้ ได้ศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์การสืบทอดพระพุทธศาสนาและคัมภีร์พระไตรปิฎกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นในอาณาจักรสยามและอาณาจักรเขมร ในยุคหลัง ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น


     โดยจากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และสถานการณ์ปัจจุบันของคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมของทั้งสองประเทศแสดงให้เห็นถึงหลักฐานการปรากฏมีอยู่ของพระไตรปิฎกในสยามมานับแต่อดีต และการยังคงอยู่ของคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีการสร้างพระไตรปิฎกสืบทอดกันต่อมาอย่างต่อเนื่องภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ในแต่ละยุคสมัย ในขณะที่หลักฐานการปรากฏมีอยู่ของพระไตรปิฎก และการยังคงอยู่ของคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมในประเทศกัมพูชาในปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ตรงกันข้าม นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่ปรากฏในพงศาวดารและบันทึกประวัติศาสตร์หลายแห่ง ตลอดจนงานวิจัยหลายชิ้นที่ดูเหมือนจะสนับสนุนทฤษฎีที่
เกี่ยวกับคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมในกัมพูชาน่าจะได้รับอิทธิพลจากไทย

Article Details

How to Cite
ศรีเศรษฐวรกุล สุชาดา. 2019. “การสืบทอดพระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมในประเทศไทยและกัมพูชา”. ธรรมธารา 5 (1):73-113. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/167244.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

แสง มนวิทูร. แปล. 2515. ชินกาลมาลีปกรณ์. ลำปาง: กรมศิลปากร.

พระยาปริยัติธาดา(แพ ตาลลักษมณ). แปล. 2521. สังคีติยวงศ์. กรุงเทพ: กรมศิลปากร.

พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ. 2459. เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงษ์ในลังกาทวีป. กรุงเทพ: กรมศิลปากร.

พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ. 2459. ตำนานหอสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ และหอสมุดสำหรับพระนคร. กรุงเทพ: โสภณพิพรรฒธนากร.

นันทา วรเนติวงศ์. แปล. 2515. พระนิพนธ์ต่างเรื่องและสยามูปสัมปทา จดหมายเหตุเรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป. กรุงเทพ: กรมศิลปากร.

พระมหาวิรัตน์ รตนญาโณ (ณุศรีจันทร์). 2549. “สัทธัมมสังคหะ: การตรวจชำระและศึกษา สทฺธมฺมสงฺคหสฺส ปริโสธนญฺเจว วิจฺเฉทายตฺตวีมํสา จ.” วิทยานิพนธ์ ป.โท, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Assavavirulhakarn, Prapod. 2010. The ascendancy of Theravāda Buddhism in Southeast Asia. Chiang Mai: Silkworm Books.

Bernon, Oliver de. 2006. "The Status of Pali in Cambodia: From Canonical To Esoteric Language." In Buddhist legacies in mainland Southeast Asia: mentalities, interpretations and practices, edited by Francoise Lagirarde and Paritta Chalermpow Koanantakool. 53-66. Ecole francaise d'extreme-orient; Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre.

Chandler, David. 2008. A history of Cambodia. Chiang Mai: Silkworm Books.

Fernando, P.E.E.. 1959. "AN ACCOUNT OF THE KANDYAN MISSION SENT TO SIAM IN 1750 A.D."The Ceylon Journal of Historical and Social Studies Vol.2 No.1: 37-83. Colombo: the Ceylon University Press

Harris, Ian Charles. 2006. Cambodian Buddhism: history and practice. Chiang Mai, Thailand: Silkworm

Books.

Marston, John A., and Elizabeth Guthrie. 2006. History, Buddhism, and new religious movements in Cambodia. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.

Pieris, P. E., and Siddhartha Buddharakhita. 1914. Religious intercourse between Ceylon and Siam in the eighteenth century. Syāmūpadasampadā: The adoption of the Siamese order of priesthood in Ceylon, Saka Era 1673 (1757 A. C.).

Reid, Anthony. 2015. A history of Southeast Asia: critical crossroads. Chichester: Wiley Blackwell.

Saddhānanda, Nedimāle, ed. 1978. "SADDHAMMA SAMGAHO." Journal of Pali Text Society 4: 21-90. London: Pali Text Society

Stuart-Fox, Martin. 2004. A history of Laos. Cambridge: Cambridge University Press.

Veidlinger, Daniel M. 2007. Spreading the Dhamma: writing, orality, and textual transmission in Buddhist Northern Thailand. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.

Vickery, M. 2006. Cambodia and its neighbors in the 15th century. Singapore: Asia Research Institute, National University of Singapore.

Zhou, Daguan, and Peter Harris. 2007. A record of Cambodia: the land and its people. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.