การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องจิตกับกาย ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาของเรเน เดส์การ์ตส์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตกับกายในพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตกับกายในปรัชญาของเดส์การ์ตส์ และ ๓) เพื่อเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องจิตกับกายในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาของเดส์การ์ตส์เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
จิตกับกายในทัศนะพุทธปรัชญา จิตคือสิ่งที่เป็นนามธรรม กายคือส่วนที่เป็นรูปธรรม สิ่งทั้งสองมีอยู่ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบไม่มีตัวไม่มีตนเปลี่ยนแปลงไปตามกฎไตรลักษณ์เป็นกระบวนการของนามรูปจะอาศัยซึ่งกันและกันในการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท จึงปรากฏให้เห็นเหมือนมีอยู่จริง เมื่อใดกระบวนการนามรูปหยุดลง นามรูปก็ว่างเปล่าจากตัวตน
จิตกับกายในทัศนะเดส์การ์ตส์ จิตคือสารที่เป็นนามธรรมได้แก่ความคิดหรือจิตสาร กายคือวัตถุสารเป็นสารที่เป็นรูปธรรม สารจิตเป็นสิ่งไม่กินที่ ไม่มีน้ำหนักและไม่สามารถแบ่งแยกได้ ในขณะที่วัตถุสาร (กาย) เป็นสิ่งที่กินที่ มีน้ำหนักและแยกย่อยได้ และไม่มีสามัญสำนึก เดส์การ์ตส์เชื่อว่า จิตกับกายต่างก็เป็นสิ่งที่มาจากการสร้างของพระเจ้า
เปรียบเทียบจิตในพุทธปรัชญากับจิตของเดส์การ์ตส์ส่วนที่เหมือนกันคือจิตเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่กินที่ ไม่มีน้ำหนัก ธรรมชาติของจิตคือการรับรู้ มีความคิด เป็นธาตุที่รู้คิดและเป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดส่วนที่แตกต่างของจิต เดส์การ์ตส์ เห็นว่าจิตเป็นสารที่อิสระ เป็นอัตตา เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่ขึ้นอยู่กับกาย กายกับจิตจะเป็นอิสระต่อกัน แต่จิตในพุทธปรัชญาเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปปบาท
เปรียบเทียบกายในพุทธปรัชญากับกายของเดส์การ์ตส์ส่วนที่เหมือนกันของกายคือเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม (สสาร) กินที่ และมีน้ำหนัก ส่วนที่แตกต่างกัน คือพุทธปรัชญาเห็นว่ากายมีอยู่เพราะอาศัยเครื่องปรุงแต่งจึงสามารถดำรงอยู่ได้ ถ้าปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้วจะไม่เหลืออะไรเลยคือเป็นอนัตตา ส่วนกายในทัศนะของเดส์การ์ตส์ คือเป็นอิสระจากสิ่งต่างๆ เป็นสิ่งที่มีตัวตนคือเป็นอัตตาและถูกสร้างโดยพระเจ้าKeywords
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์