ศึกษาหลักปริศนาธรรมในพิธีบำเพ็ญกุศลศพของชาวตำบลน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาพิธีบำเพ็ญกุศลศพตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาพิธีกรรมในการบำเพ็ญกุศลศพของพุทธศาสนิกชนชาวตำบลน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย และ ๓) เพื่อศึกษาปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในพิธีบำเพ็ญกุศลศพของชาวตำบลน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ผลการวิจัยพบว่า พิธีบำเพ็ญกุศลศพในพระพุทธศาสนาเถรวาทในสมัยพุทธกาล มีวิธีจัดการศพในหลายรูปแบบ เช่น มีการนำศพไปทิ้งในป่าหรือในป่าช้าเพื่อให้เป็นอาหารของแร้งกา การนำศพไปฝังดิน การนำศพไปเผา และมีการนำศพไปลอยทิ้งในแม่น้ำสายสำคัญ และในสมัยพุทธกาลจะมีการจัดงานศพที่ยิ่งใหญ่ก็เฉพาะบุคคลสำคัญๆ เท่านั้น เช่น การจัดการพระศพของพระพุทธเจ้า พระพุทธบิดา และพุทธสาวกบางรูป ส่วนบุคคลทั่วไปจะจัดการศพแบบเรียบง่ายไม่เน้นพิธีกรรม โดยนำไปฝังหรือเผาหรือนำไปทิ้งให้เป็นอาหารของสัตว์ป่าทั่วไป ในการบำเพ็ญกุศลศพในทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในสังคมไทยจะมีพิธีและขั้นตอนต่างๆ ซึ่งแต่ละขั้นตอนล้วนมีแนวคิดหรือหลักปริศนาธรรมแฝงอยู่ เพื่อให้คนที่ไปร่วมในงานศพได้คิดพิจารณาถึงสภาวะที่แท้จริงของชีวิต หรือเป็นคติเตือนใจสอนให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท ให้รีบเร่งสร้างคุณงามความดี สร้างบุญกุศลให้มาก อย่างน้อยคุณงามความดีที่สร้างไว้ในชาตินี้จะได้ติดตัวไปในชาติหน้า นั่นคือมีสุคติภพ เพียบพร้อมไปด้วยมนุษย์สมบัติ โภคสมบัติ และบริวารสมบัติ เป็นต้น
นอกจากนี้ การบำเพ็ญกุศลศพในทางพระพุทธศาสนายังแฝงไปด้วยหลักธรรมที่สอนให้เข้าใจในร่างกายของมนุษย์ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาไม่มีใครหนีพ้น เพราะสังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา นั่นคือมีสภาพตกอยู่ในกฎของของไตรลักษณ์เสมอเหมือนกันทุกคน ส่วนในด้านจิตใจก็สอนให้คนตระหนักถึงความกตัญญูกตเวทีของบุตรธิดา จะต้องทำหน้าที่ตอบแทนคุณบิดามารดา และผู้ที่มีอุปการคุณทั้งหลายไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็ตาม ลูกหลานมีหน้าที่ตอบแทนและระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน และเมื่อคนยังมีชีวิตอยู่เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการบำเพ็ญกุศลเช่นนี้แล้วจะได้เป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต และช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมของการบำเพ็ญกุศลศพนี้ให้เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์และเพิ่มพูนธรรมปัญญาสืบต่อไปKeywords
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์