พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๗ ในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ๒๕๕๗ ในจังหวัดขอนแก่น ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางการเมืองของประชาชนกับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒๕๕๗ ในจังหวัดขอนแก่น ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ในเขตเลือกตั้งที่ ๑ ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน ๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามสถิติพรรณาที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงในการทดสอบสมมติฐาน คือ ไค-แสควร์
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ปัจจัยทางสังคม พบว่า บุคคลที่มีส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งคือ สามี/ภรรยา สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งคือ โทรทัศน์/เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น
๒. ปัจจัยทางการเมือง พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านคุณสมบัติพรรคการเมือง รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะของหัวคะแนน และด้านคุณสมบัติผู้สมัคร ตามลำดับ
๓. พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พบว่า แบบแผนการตัดสินใจนั้น ประชาชนเลือกพรรคและบุคคลเป็นจำนวนมากที่สุด ในขณะที่เหตุผลในการเลือกตัวบุคคล ประชาชนเลือกผู้สมัครที่เข้าใจปัญหาคนในพื้นที่เป็นจำนวนมากที่สุด และเหตุผลในการเลือกพรรค ประชาชนเลือกพรรคเพราะชอบหัวหน้าพรรคเป็นจำนวนมากที่สุด
๔. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางการเมืองกับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒๕๕๗ ในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ปัจจัยทางสังคม คือ บุคคลที่มีส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สื่อประชาสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และปัจจัยทางการเมืองคือ คุณสมบัติผู้สมัคร คุณสมบัติพรรคการเมือง คุณลักษณะของหัวคะแนน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒๕๕๗ ในจังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้Keywords
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์