รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

Main Article Content

อ๊อต โนนกระยอม

Abstract

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน และ ๒) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพ

       ผลการวิจัยพบว่า

     ๑. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาสถาบันการเรียนรู้เพื่อ ปวงชน เรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ๑) อิทธิพลทางตรง คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ วัฒนธรรมการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ๒) อิทธิพลทางอ้อม คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ และ ๓) อิทธิพลรวม คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ พบว่า ตัวแปรที่นำมาศึกษา สามารถร่วมกันอธิบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ ๗๐ และผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

     ๒. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ประกอบด้วย การจัดกระบวนการเรียนรู้ ๔ ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ ๑ การเรียนรู้จักตนเองและโลก ประยุกต์ใช้สิติ สัมปชัญญะ ขั้นที่ ๒ การปรับกระบวนทัศน์ ประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ ๔ ขั้นที่ ๓ การจัดระเบียบชีวิต ประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ และขั้นที่ ๔ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ ๔ ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ เมื่อนำไปทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบพบว่า อาจารย์ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้มีความรู้ความเข้าใจต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ก่อนทดลองและหลังทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ โดยคะแนนหลังทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนทดลอง

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)