การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมกับการรู้เท่าทันสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค เชิงพุทธบูรณาการ : กรณีศึกษาไลน์

Main Article Content

วรวิชชา ทองชาวนา

Abstract

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังพัฒนาในด้านระบบสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Line) ที่ส่งผลให้คนในสังคม สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อหลากหลายประเภทอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัดการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เพื่อใช้เป็นหลักในการสร้างภูมิคุ้มกันเตรียมพร้อมรับต่อสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระดับครอบครัวชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์ โดยการรู้เท่าทันสื่อที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ และพฤติกรรมของคนในสังคม ทั้งในเชิงลบและบวกที่ทำให้พฤติกรรมการเสพสื่อของคนในทุกกลุ่มมีสัดส่วนการใช้งานเพิ่มมากขึ้นจนเป็นเหยื่อของสื่อออนไลน์ องค์ความรู้ตามหลักพระพุทธศาสนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อพัฒนาชีวิต พบว่า ๑) รู้จักใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อเรียนรู้สื่ออย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ๒) รู้จักกำหนด สติ-สัมปชัญญะคอยควบคุมเมื่อรับสื่อด้วยสำรวมอินทรีย์ ๓) รู้จักฝึกควบคุมตนเอง ๔) รู้จักคิดหาเหตุผลตามหลักโยนิโสมนสิการ ๕) พิจารณาสื่อโดยไม่ลำเอียง โดยใช้หลักอคติ และ ๖) รู้จักวิเคราะห์และตรวจสอบสื่อตามหลักกาลามสูตร จะเป็นผลทำให้การใช้สื่อฯ ในปัจจุบันได้อย่างมีภูมิคุ้มกันและมีประสิทธิภาพ 

Abstract

Thailand had been developed with the online social network to make people exchange information through many types of media quickly and unlimitedly. Creation of the social immunity was an immune principle of self-preparation for the quick change in families, communities and societies by means of knowing clearly the influence of media, people’s behavior in the positive, negative aspects that increased more people to use the online social network until they became a victim of such an online network, The Buddhist knowledge about the media literacy for life-development was found that it helped people 1) to carefully eyes, ears, a nose, a tongue, a body and mind for learning media in the right way, 2) to use media mindfully with the control of faculties, 3) to grow the self-control, 4) to think with reasoned attention, 5) to consider media without any bias according to an acati principle, and 6) to analyze and examine media according to kalamasutta, all of these factors helped people to use the recent media advantageously and efficiently.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)