การบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตามความคิดเห็น ของผู้รับบริการในหมู่บ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

จำเนียร ไพรศรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตามความคิดเห็นของผู้รับบริการในหมู่บ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตามความคิดเห็นของผู้รับบริการในหมู่บ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม และ ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านตามหลักสังคหวัตถุ ๔ บ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้รับบริการในหมู่บ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน ๑๘๓ คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

ผลการวิจัย พบว่า

๑. ผู้รับบริการมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของบ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยในรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านสมานัตตตา ด้านปิยวาจา ด้านทาน และด้านอัตถจริยา

๒. ผู้รับบริการที่มีรายได้ (ต่อเดือน) ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของบ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนผู้รับบริการที่มีเพศ อาชีพ ระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของบ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

๓. ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตามความคิดเห็นของผู้รับบริการในหมู่บ้านกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สรุปได้ดังนี้ ควรให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันในที่ทำงานและประชาชนทั่วไป ควรตั้งงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการในแต่ละด้าน ควรใช้วาจาสุภาพ อ่อนหวาน และให้กำลังใจแก่ผู้ร่วมงาน และประชาชนทั่วไป พูดจาด้วยการประสานสามัคคี ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือนร้อนแก่ประชาชน

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)