การบริหารการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

Main Article Content

ถนัต จ่ากลาง
พิชิต แสนเสนา

Abstract

         โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลกและประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การนำเสนอบทความการบริหารการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครั้งนี้ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการวิจัยเอกสาร จากนั้นทำการวิเคราะห์เรียบเรียงจัดลำดับเนื้อหาแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการการบริหารการพัฒนาหมู่บ้านเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้เขียนทำการสังเกตจากกรณีศึกษา ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

             ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีดังนี้ ๑) ด้านการพัฒนาการบริหาร ประกอบด้วย (๑) โครงสร้างและหน้าที่      เป็นการกำหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ระเบียบกฎเกณฑ์ ตลอดจนกระบวนการในการบริหารงานของหมู่บ้านในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (๒) การนำกระบวนการ AIC มาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (๓) การสร้างระบบการดำเนินงาน โดยมีการกำหนดนโยบาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ รวมถึงการสร้างระบบติดตามและประเมินผล และ (๔) การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒) ด้านการบริหารเพื่อการพัฒนา ประกอบด้วย (๑) การให้ความสำคัญต่อโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (๒) การให้ความสำคัญต่อการพัฒนากิจกรรมเฉพาะด้านในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และ (๓) การให้ความสำคัญต่อการนำนโยบายและโครงการไปสู่การปฏิบัติ

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)