รูปแบบการบริหารเวลาในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔

Main Article Content

วิชัย ราชวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารเวลาในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น    เขต ๔ ๒) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารเวลาในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ ๓) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเวลาที่พึงประสงค์ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้น ๔๔๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง ๐.๘๕-๑.๐๐ และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

         ผลการวิจัยพบว่า

       ๑. สภาพการบริหารเวลาในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม        มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารหรือการใช้เวลาในด้านการบริหารงานทั่วไป รองลงมาคือ การบริหารหรือการใช้เวลาด้านการบริหารงบประมาณ การบริหารหรือการใช้เวลาในด้านการบริหารงานวิชาการ และการบริหารหรือการใช้เวลาด้านการบริหารงานบุคคล

       ๒. ความต้องการจำเป็น PNImodified รูปแบบการบริหารเวลาที่พึงประสงค์ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๐.๓๖ แสดงให้เห็นว่าจะต้องได้อัตราการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาจากสภาพที่เป็นอยู่ไปยังสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าคิดเป็นร้อยละ ๓๖ ด้านการบริหารหรือการใช้เวลาในด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารหรือการใช้เวลาด้านการบริหารงบประมาณ และด้านการบริหารหรือการใช้เวลาในด้านการบริหารงานทั่วไป ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๐.๔๒, ๐.๓๙, ๐.๓๘ แสดงให้เห็นว่าจะต้องได้อัตราการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาจากสภาพที่เป็นอยู่ไปยังสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าคิดเป็นร้อยละ ๔๒, ๓๙, ๓๘ ตามลำดับ ส่วนด้านการบริหารหรือการใช้เวลาด้านการบริหารงานบุคคล ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๐.๒๓ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมจึงไม่มีความต้องการจำเป็นต้องพัฒนา

       ๓. รูปแบบการบริหารเวลาที่พึงประสงค์ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านการบริหารหรือการใช้เวลาด้านการบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ ๒) ด้านการบริหารหรือการใช้เวลาในด้านการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย ๑๓ ตัวบ่งชี้ ๓) ด้านการบริหารหรือการใช้เวลาในด้านการบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ และ ๔) ด้านการบริหารหรือการใช้เวลาด้านการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย ๗ ตัวบ่งชี้

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)