รูปแบบการนำหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารของผู้บริหาร สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระสมหมาย อตฺถสิทฺโธ (พืชสิงห์)

Abstract

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักอปริหานิยธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการนำหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารของผู้บริหารสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด ๓) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด

        ผลการวิจัยพบว่า

      ๑) หลักอปริหานิยธรรมเป็นหลักธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๒ ประเภท คือ ราชอปริหานิยธรรม (อปริหานิยธรรมสำหรับคฤหัสถ์ผู้มีหน้าที่ในการปกครอง) และภิกษุอปริหานิยธรรม (อปริหานิยธรรมสำหรับบรรพชิตผู้ใฝ่ธรรม) อปริหานิยธรรมปรากฏมีในพระสูตรต่างๆ เช่น มหาปริพพานสูตร เป็นต้น โดยแต่ละสูตรมีหลักธรรม ๔ ประการบ้าง๖ ประการบ้าง และ ๗ ประการบ้าง

      ๒) รูปแบบการนำหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารของผู้บริหารสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด นำหลักอปริหานิยธรรมไปบูรณาการเข้าไปในทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาการบริหารงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมความสามัคคีเป็นทีม(Teamwork) และสามารถนามาบูรณาการเข้ากับบริหารงานทั้งในด้านการบริหารจัดการบุคลากร (Staffing) การประสานงาน (Coordinating) และการจัดองค์กร (Organizing) โดยการร่วมแรงร่วมใจเป็นคณะแต่ละฝ่าย เป็นการผนึกกำลัง (Synergy) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และพบว่า อปริหานิยธรรม เป็นหลักป้องกันความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญขององค์การฝ่ายเดียว องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด สามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติด้านการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี

      ๓) รูปแบบหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ดพบว่า หลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารองค์การองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด มี ๖ รูปแบบคือ ๑) รูปแบบของความสามัคคีการจัดประชุมและเลิกประชุม คือ ร่วมกันประชุมสามัญประจำปีเมื่อมีปัญหาเร่งด่วนทุกภาคส่วนก็พร้อมเพรียงกันประชุมโดยยกประเด็นปัญหามาปรึกษาหารือกัน จนมีแนวทางแก้ไขในที่สุด ด้วยพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงกระทำร่วมกันเพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับองค์กร ๒) รูปแบบของการเคารพต่อขบวนธรรมเนียมประเพณีเดิมของท้องถิ่นรักษาขนบธรรมเนียมที่ดีงาม ถือเป็นเป้ายุทธศาสตร์ที่ทุกคนต้องปฏิบัติ ๓) รูปแบบของการเคารพผู้อาวุโสและปราชญ์ท้องถิ่นให้เกียรติยกย่องเชิดชูและเคารพในเปิดโอกาสให้ผู้อาวุโสและปราชญ์ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น และมีส่วนในการวางหลักสูตรการศึกษาบางส่วนในระดับท้องถิ่นของจังหวัดร้อยเอ็ด ๔) รูปแบบของการส่งเสริมสถานะและบทบาทของสตรีส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายสร้างความเข้มแข็งในตัวผู้หญิงเพื่อปรับเปลี่ยนชีวิตของผู้หญิงให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นโดยสังคมมีส่วนร่วม มีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมในชุมชน ๕) รูปแบบของการถือแบบอย่างและยกย่องคนดีในการทำงานให้ความเคารพในการแสดงความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ที่เหมาะสม ๖) รูปแบบของการปกป้องคุ้มครองผู้อยู่อาศัยแขกและคนที่เข้ามาในท้องถิ่นจัดระเบียบและดูแลความสงบเรียบร้อยเน้นความสะอาด ความเป็นระเบียบ และถูกสุขลักษณะของที่อยู่อาศัยเคารพซึ่งกันและกันใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)