การพัฒนารูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยโดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริม ต่อการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์การเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

Main Article Content

ประเทือง ทาอามาตย์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) การพัฒนารูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยโดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์การเขียน และ ๒) การยืนยันประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยโดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์การเขียน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น ๒ ระยะคือ ๑) พัฒนาและหาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูที่สอนภาษาไทย จำนวน ๔๐ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๖๙ คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) นักเรียนโรงเรียนบ้านโสกยาง จำนวน ๑๑ คน และนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านหนองทุ่ม จำนวน ๑๘ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ ๑ ได้แก่ แบบสอบถามครู แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ และระยะที่ ๒ การยืนยันประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. รูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยโดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์การเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ๕ องค์ประกอบ คือ ๑) หลักการแนวคิดทฤษฎี ๒) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ ๓) เนื้อหา ๔) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ ๕) การวัดและประเมินผล

๒. การยืนยันประสิทธิผลของการทดลองใช้รูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยโดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๕ โรงเรียนเมืองวาปีปทุม พบว่า ๑) ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอน มีค่าเท่ากับ ๐.๗๖๘๙ หรือร้อยละ ๗๖.๘๙ ๒) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และ ๓) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๕ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยในโรงเรียนเมืองวาปีปทุม พบว่า ๑) ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอน มีค่าเท่ากับ ๐.๘๔๑๕ หรือร้อยละ ๘๔.๑๕ ๒) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๖ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.๐๑ และ ๓) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract
The research aimed to 1) develop a model Thai teaching by creative writing using
the strategy of scaffolding with writing experience for 4th grade students, and 2) confirm
the effectiveness of using the model of teaching Thai creative writing using the strategy
of scaffolding with writing experience. The research, employing the mixed method, was
divided into 2 phases: 1) develop and find the effectiveness of the model of teaching
Thai creative writing. The target group comprised 40 Thai teachers, obtained through
purposive sampling, 169 4th grade students from the 1st educational quality development
network, obtained through cluster sampling, 11 students from Bansokyang school,
and 18 students from Bannongtum community school, obtained through purposive
sampling. The research instruments in phase 1 consisted of a teacher questionnaire, and
a 4-choice test containing 30 questions for the thai learning strand. Phase 2 dealt with
the confirmation of the effectiveness of using the model of teaching creative writing. The
research instruments comprised the model of teaching thai creative writing using the
strategy of scaffolding with writing experience, a learning achievement test, and a satis

faction questionnaire. The analysis of data was to find percentage, the mean  and
standard deviation (S.D.), and t-test (dependent samples) was employed in hypothesis
testing.
The results revealed that:
1. The model of teaching Thai creative writing using the strategy of scaffolding
with writing experience for 4th grade students that had been developed was composed
of 5 components: 1) principles, concepts and theories, 2) objectives of the model,
3) content, 4) learning activity organization, and 5) measurement and evaluation.
2. The confirmation of the effectiveness of the experiment of the model of
teaching Thai creative writing using the strategy of scaffolding with writing experience of
the students in the 4/5 group of Muangwapipathum school revealed 1) the effectiveness
of the model of teaching was 0.7689 or 76.89 percent, 2) the students in the 4/5 group
had their post-learning achievement higher that their pre-learning achievement with
statistical significance at the level of .01, and 3) The students in the 4/5 group were
satisfied with the model of teaching Thai creative writing, on the whole, in the highest
level. The confirmation of the effectiveness of the model of teaching thai creative writing
in muangwapipathum school revealed 1) the effectiveness index of the model of
teaching was 0.8451 or 84.51 percent, 2) the students in the 4/6 group were satisfied with
the model of teaching, on the whole, in the highest level; in Bansokyang school it was
found that1) the effectiveness index of the model of teaching was 0.7759 or 77.59
percent, 2) the 4th grade students had their post-learning achievement higher that their
pre-learning achievement with statistical significance at the level of .01, and 3) the
students were satisfied with the model of teaching, on the whole, in the highest level;
and in Bannongtum community school it was found that 1) the effectiveness index of
the model of teaching was 0.7453 or 74.53 percent, 2) the 4th grade students had their
post-learning achievement higher that their pre-learning achievement with statistical
significance at the level of .01, and 3) the students were satisfied with the model of
teaching, on the whole, in the highest level.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)