ปัญหาสังคมวัฒนธรรมของชาวมลายูปาตานีในนวนิยายไทย: ศึกษากรณีนวนิยายรุสนีของมนตรี ศรียงค์

Authors

  • อามีเนาะ เจ๊ะแว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Keywords:

มลายูปาตานี, วัฒนธรรมศึกษา, อุดมการณ์, วรรณกรรม

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสังคมวัฒนธรรมของชาวมลายูปาตานีในนวนิยายไทยที่มีชื่อว่ารุสนี (2555) ซึ่งเป็นผลงานวรรณกรรมของมนตรี   ศรียงค์ นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2550 รุสนีถือเป็นนวนิยายเล่มหนึ่งที่พยายามหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดน .   ภาคใต้ที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดน ความหวาดระแวงของชาวมลายูปาตานีทีมีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ความไม่ปลอดภัย .  ในการใช้ชีวิตของชาวมลายูปาตานี ความแตกต่างทางชาติพันธ์นำไปสู่ความเกลียดชัง การละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะเด็กและสตรี ปัญหาการระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ปัญหาเด็กกำพร้า  ปัญหาการศึกษาและปัญหาสภาพเศรษฐกิจของชาวมลายู นอกจากนั้นรุสนียังเป็นนวนิยาย 1 ใน15   เรื่องที่ผ่านรอบแรกนวนิยายซีไรต์ ปี 2555  อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ปัญหาที่ปรากฏในนวนิยายนั้น ผู้เขียนได้นำเอา Cultural Studies หรือวัฒนธรรมศึกษาเป็นหลักในการวิเคราะห์โดยมุ่งเน้นแนวคิดอุดมการณ์ ผลการวิเคราะห์พบว่าความแตกต่างทางอุดมการณ์ของแต่ละฝ่ายเป็นแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆทั้งความขัดแย้ง ความรุนแรงและความไม่สงบสุขในสังคม แต่เราสามารถทำลายกำแพงนั้นได้ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมนตรี ศรียงค์ในการเขียนนวนิยายเล่มนี้ โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย เพราะฉะนั้นจึงไม่อาจปฎิเสธได้ว่าวรรณกรรมมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นกระจกเงาที่สะท้อนภาพทางสังคมและยังเป็นพื้นที่ทางการเมืองและประวัตศาสตร์ของแต่ละสังคมได้อย่างน่าอัศจรรย์

Downloads

Published

28-06-2019

How to Cite

เจ๊ะแว อ. (2019). ปัญหาสังคมวัฒนธรรมของชาวมลายูปาตานีในนวนิยายไทย: ศึกษากรณีนวนิยายรุสนีของมนตรี ศรียงค์. Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 15(1), 181–214. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/199173

Issue

Section

Academic Article