การพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเนื้อหาสมบัติของธาตุและสารประกอบ

Main Article Content

ธัณยาภรณ์ ภักดี (Thanyaporn Pakdee)
ชาตรี ฝ่ายคำตา (Chatree Faikhamta)
พจนารถ สุวรรณรุจิ (Potjanart Suwanruji)

Abstract

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์อย่างชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนความคิดผนวกเข้ากับการสอนเนื้อหาเคมี เรื่อง สมบัติของธาตุและสารประกอบ และศึกษาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สำหรับเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ อนุทินหลังการสอนของผู้สอน อนุทินหลังการเรียนรู้ของนักเรียนและแบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลจากการวิจัย พบว่า แนวทางในการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์อย่างชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนความคิดเรื่องสมบัติของธาตุและสารประกอบ พบว่า 1) ควรมีประเด็นที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้อภิปรายร่วมกันเพื่อสะท้อนประเด็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 2) ใช้ตัวอย่างหรือสถานการณ์ที่ไม่อิงเนื้อหาร่วมกับตัวอย่างหรือสถานการณ์ที่อิงเนื้อหา 3) ควรมีการสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์อย่างกลมกลืนและเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อหาเคมีโดยสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในขณะที่นักเรียนได้ทำกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้นักเรียนได้อภิปรายและสะท้อนความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ยังพบว่าหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีการพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความแตกต่างระหว่างการสังเกตและการลงความเห็นและมายาคติของการแสวงหาความรู้วิทยาศาสตร์

DEVELOPING TENTH GRADE STUDENTS’ VIEWS OF NATURE OF SCIENCE IN THE TOPIC OF PROPERTIES OF ELEMENTS AND COMPOUNDS

This action research aimed to examine the effective ways to implement explicit and reflective learning approach integrated within the topic of properties of elements and compounds for developing students’ understandings of NOS and investigate the development of students’ understandings of NOS. The participants were 21 ten grade students. Data were gathered by using teacher’s reflective journals, students’ reflective journals, open-ended questionnaire with semi-structured interviews. These data were analyzed through inductive process. The result indicated that after explicit and reflective learning approach, the majority of students held adequate understandings in all aspects of NOS, especially in observation vs. inference and myth of scientific method. The results demonstrated that the effective ways to implement an explicit and reflective instruction were; 1) teacher should have issues for students discuss aspects of NOS, 2) teacher should use nonintegrated with integrated NOS learning activities, and 3) teacher should carefully blend NOS and science contents and should have students present and discuss NOS from their activities and integrated NOS all of steps.

Article Details

How to Cite
(Thanyaporn Pakdee) ธ. ภ., (Chatree Faikhamta) ช. ฝ., & (Potjanart Suwanruji) พ. ส. (2017). การพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเนื้อหาสมบัติของธาตุและสารประกอบ. Journal of Education and Innovation, 19(3), 77–90. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/100894
Section
Research Articles