การพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

Main Article Content

วัชรี กาศสนุก (Watcharee Kartsanuk)
อนุชา กอนพ่วง (Anucha Kornpuang)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนของกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการวางแผน (Planning) เป็นการจัดตั้งทีมงานในการทำการเทียบเคียงสมรรถนะ การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาโรงเรียน การกำหนดหัวข้อในการเทียบเคียงสมรรถนะ การกำหนดคู่เทียบเคียงสมรรถนะ และการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามาทำการวิเคราะห์เพื่อหาช่วงห่าง ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการบูรณาการ (Integration) เป็นการรายงานผลการเทียบเคียงสมรรถนะการพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม(เกษมราษฎร์บำรุง) และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม(เกษมราษฎร์บำรุง) ให้ดีขึ้นและขั้นตอนที่ 4 ขั้นการปฏิบัติ (Action) เป็นการดำเนินการ จัดทำแผนดำเนินการพัฒนาระบบจิตศึกษา การปฏิบัติกิจกรรมตามแผน และการประเมินผล ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการวางแผน พบว่า ได้จัดตั้งทีมงานได้ทีมงานที่ประกอบด้วย3 ฝ่าย ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดโชคเกษม(เกษมราษฎร์บำรุง) และผู้วิจัย รวมจำนวน 9 คน ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 3 คน รวม 15 คน โดยการกำหนดสัดส่วน 9:3:3 และมีการกำหนดหัวข้อในการเทียบเคียงสมรรถนะคือ การพัฒนาระบบจิตศึกษา และคู่เทียบเคียง คือ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และเมื่อนำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลกับทีมงานพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) ใน 3 องค์ประกอบ คือ ความเป็นชุมชน จิตวิทยาเชิงบวก และกิจกรรมจิตศึกษา พบว่า มีระดับการปฏิบัติ ตั้งแต่ 1-3 ส่วนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับ 5 ทั้ง 36 รายการ
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ช่วงห่างของการปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนากับโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) มีค่าตั้งแต่ 2-4 รายการที่มีช่วงห่างน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครอง ครู และเด็กๆมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับ ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ โดยมีช่วงห่างเท่ากับ 2 ส่วนรายการที่เหลือมีค่าช่วงห่างเท่ากับ 3 และ 4
3. ผลการบูรณาการ พบว่า เมื่อทีมงานพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) ได้รับทราบผลการเทียบเคียงสมรรถนะแล้ว มีมติกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) ให้ดีขึ้น ใน 3 องค์ประกอบ คือ ความเป็นชุมชน จิตวิทยาเชิงบวก และกิจกรรม
จิตศึกษา ทั้ง 36 รายการให้มีระดับการปฏิบัติในระดับ 3 ขึ้นไป
4. ผลการปฏิบัติ พบว่า เมื่อตั้งเป้าหมายแล้วจึงมาจัดทำแผนการพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) จำนวน 1 โครงการ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมย่อย คือ 1) การสร้างความเป็นชุมชน
2)การส่งเสริมการใช้จิตวิทยาเชิงบวก และ 3) การส่งเสริมการจัดกิจกรรมจิตศึกษาในโรงเรียนและนำแผนไปปฏิบัติเป็นเวลา 1 ภาคเรียน สิ้นสุดภาคเรียนประเมินผลแล้วพบว่า โรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) มีการพัฒนาระบบจิตศึกษาใน 3 องค์ประกอบดีขึ้น และเมื่อปรับเทียบซ้ำ พบว่า เมื่อนำผลไปเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในขั้นตอนที่ 3 คือระดับการปฏิบัติตั้งแต่ 3 ขึ้นไป พบว่า มีรายการข้อคำถามที่มีค่าเท่ากับเป้าหมายและสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 34 รายการและรายการข้อคำถามที่มีค่าต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ มี 2 รายการ คือ 1) มีกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community) ระหว่างครูและผู้บริหาร ทั้งระดับกลุ่มและระดับโรงเรียนในลักษณะ BAR (Before Action Review) DAR (During Action Review) และ AAR (After Action Review) และ 2) มีกระบวนการวางแผน แลกเปลี่ยนแบ่งปันระหว่างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูระดับต่างๆอย่างสม่ำเสมอ

THE DEVELOPMENT OF JITSUKSA SYSTEMS OF WATCHOKASEM SCHOOL BY USING BENCHMARKING WITH LAMPLAIMATPATTANA SCHOOL

The main objective of this research was to develop Jitsuksa systems for Watchokasem School. The benchmarking process was applied and benchmarked against Lamplaimatpattana School. The research procedure was divided into 4 phases; Phase 1 Planning: this phase consisted of 5 steps to 1) form teams, 2) analyze problems and need, 3) identify what is to be benchmarked, 4) identify comparative companies, and 5) identify data collection method and collected data. Phase 2 Analysis: to identify current performance “GAP”between Watchokasem School and Lamplaimatpattana School. Phase 3 Integration: to communicate benchmark findings and gain acceptance and establish functional goals. Phase 4 Action: to develop action plans, implement specifics actions and monitor progress, and finally recalibrate benchmarks. The research findings were as follow;
1. Findings of the Planning phrase: Three teams of Watchokasem School were nine teachers (including researcher), three members of school committee and three parents. Jitsuksa systems was developed from the bench making process and also Lamplaimatpattana School was the comparative companies. The findings indicated that the levels of performance in three aspects of Jitsuksa systems in Lamplaimatpattana School were at the highest level 5. Meanwhile, the performance levels of Watchokasem School ranged in level from 1 to 3.
2. Findings of the Analysis phrase: the gap of the current performance level between Watchokasem School and Lamplaimatpattana School ranged from 2-4. The narrowest gap were two items about good relationship among parents, teachers and students, moreover, the learning network of parents, community, and organizations. The gap of the other items were 3 and 4.
3. Findings of the Integration phrase: three teams of Watchokasem Schoolagreed to improve functional goals to attain the high performance level in three aspects of Jitsuksasystems
1) Community, 2) Positive Psychology, and 3) Jitsuksa Activities.
4. Findings of the Action phrase: Jitsuksa systems was developed through Watchokasem school action plan which consisted of three activities for enhancing the aspects of Jitsuksa system. These activities were Community involvement, Positive Psychology encouragement and Jitsuksa Activities stimulation. The action plan has been conducted with specifics actions and monitor progress in the school for one academic semester (4 months). The findings indicated that functional goals achieved progress in 3 aspects of Jitsuksa system. Furthermore, the levels of performance were perfectly attainable at level 3 and above.

Article Details

How to Cite
(Watcharee Kartsanuk) ว. ก., & (Anucha Kornpuang) อ. ก. (2017). การพัฒนาระบบจิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา. Journal of Education and Innovation, 19(3), 283–296. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/100969
Section
Research Articles