การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีคิดเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมการจดจำตัวอักษรฮิระงะนะ สำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น

Main Article Content

วัชรา สุยะรา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจดจำตัวอักษรฮิระงะนะสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น โดยได้นำแผ่นภาพตัวอักษรฮิระงะนะจากตำรา “ฮิระงะนะเรียนสบาย สไตล์โคะฮะรุ จัดทำโดยเจแปนฟาวเดชั่น กรุงเทพฯ ซึ่งสร้างขึ้นโดยการเลือกใช้คำภาษาไทยที่มีต้นเสียงใกล้เคียงกับอักษรฮิระงะนะและใช้รูปภาพแสดงคำของเสียงภาษาไทยตามหลักหลักวิธีคิดเชื่อมโยง (Association Method) มาใช้ประกอบในการเรียนการสอน วิชาภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน 1 ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทำการศึกษาโดยให้ผู้เรียนทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและตอบแบบสอบถาม จากการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำอักษรฮิระงะนะได้มากขึ้นโดย กลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานเลย ทำคะแนนเฉลี่ยได้ร้อยละ 87.63 ได้คะแนนดีขึ้นร้อยละ 85.50  กลุ่มที่มีพื้นฐานบ้าง ทำคะแนนเฉลี่ยได้ร้อยละ 87.00 ได้คะแนนดีขึ้นร้อยละ 72.33 และกลุ่มที่มีพื้นฐานความรู้ค่อนข้างดี ทำคะแนนเฉลี่ยได้ร้อยละ 95.58 ได้คะแนนดีขึ้นร้อยละ 4.92 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ในระดับพึงพอใจมากถึงพึงพอใจมากที่สุด และส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ารูปแบบการเรียนรู้นี้ช่วยให้จดจำอักษรฮิระงะนะได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังควรต้องปรับปรุงภาพบางภาพที่ยังเชื่อมโยงได้ไม่ดี เช่นตัวอักษร さ, ら, た, て, む เป็นต้น

HIRAGANA MEMORIZING VIA JAPANESE TEACHING MODEL 
BASED ON ASSOCIATION METHOD

This research aims to study Hiragana Memorizing via Japanese teaching model based on Association method. Forty five sheets of figures were used as teaching media to represent 45 hiragana letters in Basic Japanese 1 class for first year students. The figures were developed by Japan foundation, Bangkok by using association method. Since the pronunciation of each hiragana letter was associated with Thai word in the figure, students should be able to memorize hiragana letter faster. The pre-test, post-test and questionnaire were done. The students who never learned Japanese before had the average post-test score of 87.63% which 85.50% higher than pre-test score. The students who slightly learned Japanese had the average post-test score of 87.00% which 72.33% higher than pre-test score. The students who had almost good basic of Japanese had the average post-test score of 87.00% which 72.33% higher than pre-test score. Refer to questionnaire results; students had high satisfaction to the instruction model. However, there were some figures such as さ, ら, た, て, む that need to be revised.

Article Details

How to Cite
สุยะรา ว. (2016). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีคิดเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมการจดจำตัวอักษรฮิระงะนะ สำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น. Journal of Education and Innovation, 18(4), 29–39. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70950
Section
Research Articles