ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องมลพิษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

น้ำฝน คูเจริญไพศาล
น้ำฝน บุตรเนียร
ณัฐติกา เจริญศิริ
วริษฐา สมเจริญ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องมลพิษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามเกณฑ์ 70/70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องมลพิษโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องมลพิษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) แบบประเมินคุณภาพของชุดกิจกรรมฯโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาของชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมลพิษ 5) แบบทดสอบท้ายกิจกรรม 6) แบบตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแบบทดสอบท้ายกิจกรรมและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ  และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องมลพิษโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องมลพิษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 4.49, S.D. = 0.50) และเมื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.00/71.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องมลพิษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 4.46, S.D. = 0.67)

THE EFFECT OF UTILIZING THE PROBLEM-BASED LEARNING ACTIVITY PACKAGES ON POLLUTION FOR LOWER SECONDARY STUDENTS

The purposes of this study were: 1) to develop learning activity packages on pollution encouraging problem-based learning of lower secondary students and to assess their quality by experts, 2) to implement the learning activity packages on pollution with a sample group to study the educational efficiency of the packages meeting the 70/70 criteria, and 3) to study students’ satisfaction towards the learning activity packages on pollution. The sample group of this study was one classroom of 9th grade students (30 students) by using purposive sampling. The research tools consisted of 1) the learning activity packages on pollution, 2) the quality assessment form for the learning activity packages used by experts, 3) the assessment form for consistency between the objectives and the contents of the activity packages used by experts, 4) the final test or the learning achievement test, 5) the activity tests, 6) the assessment form for consistency between questions and behavioral objectives of the activity tests and the learning achievement test used by experts, and 7) the students’ satisfaction questionnaire toward the learning activity packages. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, and standard deviation. The results indicate that the quality of the learning activity packages assessed by the experts was at a level of good quality (\bar{x}= 4.49, S.D. = 0.50). The educational efficiency (E1/E2) of the learning activity packages on pollution was effective at 80.00/71.11, which meets the 70/70 criteria and the students’ satisfaction towards the learning activity packages was at a good level (\bar{x}= 4.46, S.D. = 0.67).

Article Details

How to Cite
คูเจริญไพศาล น., บุตรเนียร น., เจริญศิริ ณ., & สมเจริญ ว. (2016). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องมลพิษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Education and Innovation, 18(4), 40–55. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70953
Section
Research Articles