การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

Main Article Content

ประภาพันธ์ บุญยัง
สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์
สมสิริ สิงห์ลพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียน และศึกษาเจตคติต่อทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียน กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านพระแก้ว ตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า
     1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพ 87.78/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
     2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ในระดับดี

A DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVE PACKAGE ON ECOSYSTEM USING COOPERATIVE LEANING WITH STAD TECHNIQUE FOR GRADE 9 STUDENTS

The purposes of this research were to a construct and study efficiency of learning active package on ecosystem using cooperative leaning’s with STAD technique at the criterion of 80/80, to compare science learning achievement and science process skills before and after learned, and to study the scientific attitude of students after learned. The sample was composed of 30 grade 9 students from Banprakeaw School, Prakeaw subdistrict, Sangkha district, Surin province during the first semester of 2014. The amount of time spent in the experiment was 16 periods. The research instruments were a science achievement test, a science process skills test and scientific attitude. Data were analyzed by using mean, percentage and t-test through computer programs. The research revealed that:
     1. The instructional package on ecosystem for grade 9 students with cooperative leaning's STAD technique had an efficiency of 87.78/86.67, which was higher than the criterion 80/80
     2. The students learning instructional package on ecosystem for grade 9 students with cooperative leaning’s STAD technique had science learning achievement and the science process skills in their post-test higher than the pre-test at .01 level of significance, and scientific attitude found that student’s was in “high” level.

Article Details

How to Cite
บุญยัง ป., ศรีแสนยงค์ ส., & สิงห์ลพ ส. (2016). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. Journal of Education and Innovation, 18(4), 223–237. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70976
Section
Research Articles