การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน

Main Article Content

อำนาจ เกษศรีไพร
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ คือ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน 2) เพื่อทดลองใช้และประเมินหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินไปตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (research and development) ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินงานเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน
โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และทดลองนำร่องหลักสูตร เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้กับครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน จำนวน 15 คน ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้และประเมินหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน โดยนำไปทดลองใช้กับครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน สังกัดเทศบาลเมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 15 คน และประเมินหลักสูตรโดยยึดรูปแบบการประเมินหลักสูตรของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model) ผลการวิจัย พบว่า
     1. หลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) เหตุผลและความจำเป็น 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) เนื้อหาสาระของหลักสูตร ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ การอ่านออกเขียนได้ การสร้างความพร้อมในการอ่านเขียน อักขรวิธีไทย การสอนอ่านและเขียนด้วยวิธีสะกดตัวผสมคำ (Synthetic Method) 5) กิจกรรมการฝึกอบรมยึดรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instruction Models of Cooperative Learning) ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) 6) สื่อและวัสดุอุปกรณ์ 7) การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม ผลการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ พบว่า กิจกรรมการฝึกอบรมของหลักสูตรเป็นลำดับขั้นตอน เนื้อหาสาระของหลักสูตรมีประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในสถานการณ์จริงได้
     2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า
        2.1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านการสอนอ่านออกเขียนได้ สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        2.2 ทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมนักเรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทย หลังอบรมตามหลักสูตร สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        2.3 การตระหนักรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับสูง (\bar{x} = 2.64, S.D. = 0.54)
        2.4 ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.79, S.D. = 0.44)

A DEVELOPMENT OF A CURRICULUM TO ENHANCE INSTRUCTIONAL COMPETENCY OF TEACHERS NOT MATCHED MAJOR TO ENHANCING LEGIBLE AND WRITE THAI LANGUAGE OF PRIMARY STUDENTS

     The purpose of this research is; to develop curriculum to enhance instructional competency of teachers not matched major to enhancing legible and write Thai language of primary students. The specific purposes are 1) to establish and check the quality of curriculum to enhance instructional competency of teachers not matched major to enhancing legible and write Thai language of primary students, 2) to experiment and assess curriculum to enhance instructional competency of teachers not matched major to enhancing legible and write Thai language of primary students. This research proceed according to the research and development which is operating as two steps: Step 1 Establish and check the quality of curriculum to enhance instructional competency of teachers who are not matched major to enhancing legible and write Thai language of primary students by 4 knowledgeable people. And did the experiment pilot to consider the possibility with 15 teachers who are not matched majors. Step 2 implement and assess the curriculum to enhance instructional competency of teachers of not matched major to enhancing legible and write Thai language of primary students of Ban Phai Municipality, Khon Kaen, and evaluated the curriculum based on the evaluation of Stuffle Beam (CIPP Model). The research found that:
     1. The developed curriculum can enhance learning, to promote learning and Thai literacy for teachers who are not matched majors, consisted of 1) rationale and necessity,
2) principles, 3) aims, 4) the contents of the curriculum consists of 5 units such as: can read and write, reading & writing readiness, Thai way alphabet, reading and writing by inserting the word combinations (Synthetic Method), 5) training activities hold cooperative learning model (Instruction Models of Cooperative Learning) by Jigsaw technique, 6) materials and supplies, and 7) measuring and evaluating training. The results of the quality of the curriculum checking by experts found that the most appropriate level. The results of the trial to study the possibility found that the training activity is a sequence of curriculums. The content of the curriculum is beneficial to the trainees, and can apply the knowledge and skills they have learned to use in real life situations.
     2. The results of the development of capacity building to promote student learning and Thai literacy for teachers who are not majors curriculum were:
        2.1 The trainees have a deep understanding of teaching literacy higher than the threshold set of the criterion 80 percent at statistical significance .05.
        2.2 The learning management skills to promote the students in Thai literacy have quality score higher than the criterion of 80 percent at statistical significance at .05.
        2.3 The awareness of Thai language literacy learning students after training is high
(\bar{x} = 2.64, S.D. = 0.54).
        2.4 The satisfied with the training curriculum in combining the highest level (\bar{x} = 4.79, S.D. = 0.44).

Article Details

How to Cite
เกษศรีไพร อ., & ธำรงโสตถิสกุล ว. (2017). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนด้านอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยสำหรับครูที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงสาขาวิชาที่สอน. Journal of Education and Innovation, 19(2), 318–331. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/89926
Section
Research Articles