การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

ศราวุธ สุตะวงค์
ทศพล อารีนิจ
ชูชีพ พุทธประเสิรฐ
ปรมินทร์ อริเดช

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและสังเคราะห์เชิงเนื้อหาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาต้นแบบการพัฒนากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระวิชา ของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 ในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 69 โรง จำนวนทั้งสิ้น 690 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบความเหมาะสม ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระวิชา ระดับมัธยมศึกษา จากสถานศึกษาต้นแบบการพัฒนา ที่มีผลการเรียนที่เป็นเลิศโดยมีผลการทดสอบคะแนน O-Net อันดับ 1-10 ระดับประเทศ ประจำปี 2552 จำนวน 10 โรง จำนวนทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows ในการหาสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย (Means) และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. การสังเคราะห์เอกสารเชิงเนื้อหาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถาน ศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า สมรรถนะที่ได้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 14 สมรรถนะ เรียงลำดับจากความถี่มากไปหาน้อย ได้แก่ การมีภาวะผู้นำ การบริหารจัดการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การนิเทศภายในสถานศึกษา การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม การสื่อสารและจูงใจ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักสูตร การมีวิสัยทัศน์ การมีจริยธรรม การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนและวิจัยระดับสถานศึกษา

2. ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 14 สมรรถนะ (องค์ประกอบย่อย) จำนวนตัวบ่งชี้ทั้งสิ้น 97 ตัวบ่งชี้ เมื่อแยกรายสมรรถนะ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 ขึ้นไป และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีภาวะผู้นำ รองลงมา ด้านการมีวิสัยทัศน์ และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

3. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ค่า Chi–Square ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการทดสอบพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

4. การตรวจสอบความเหมาะสมตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาต้นแบบการพัฒนา พบว่า มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนและวิจัยระดับสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีภาวะผู้นำ แสดงให้เห็นว่าตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมต่อสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ : สมรรถนะ, ตัวบ่งชี้ สมรรถนะการบริหารวิชาการ, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 

Abstract

The purposes of this study were to synthesize indicators of academic administration capacities organized by secondary education administrators of local administration organizations, to analyze the confirmatory components on the secondary education administrators’ academic administration capacities in local administration organizations, as well as to determine the appropriate indicators of the secondary education administrators’ capacities of their academic administration, compared with the empirical data, were implemented for prototypical local administration organizations.

For data gathering, 690 respondents out of the 69 schools of the local administration organizations were randomly sampled. These included school directors, vice-directors dealing with academic administration, as well as heads of learning subjects of the 3rd – 4th benchmarks, working for the Department of Local Administration Promotion. In addition, 100 respondents out of the 10 pilot schools, with their 1st – 10th O-Net results of the academic year 2009 were selected as a sample group, including school directors, vice-directors dealing with academic administration, and heads of learning subjects.

The research instrument drawn for this study was a questionnaire. In order to determine the consistence of models related to the secondary education administrators’ capacities of their academic administration administered in local administration organizations. The data obtained from confirmatory components were systematically analyzed using SPSS for Windows and programme for LISREL. The findings of the study were as follows:

In analyzing documents in relations to the secondary education administrators’ capacities of their academic administration administered in local administration organizations, it was stated that these capacities provided were divided into 14 aspects: Leadership, pedagogical management, school curriculum design, internal supervision, self-development, team-working management, negotiation and motivation, learning accomplishment, effective human resources management, curriculum analysis, vision, morale enhancement, as well as classroom action and school researches.

As compared the indicators with the secondary education administrators’ capacities of their academic administration implemented in local administration organizations, it was stated that 14 out of the 97 indicators of the secondary education administrators’ capacities of their academic administration, in consistence with its validity of 0.80, were all averaged at a higher level in terms of their leadership, vision, and school curriculum design.

In the comparison between the confirmatory components of the indicators of the secondary education administrators’ capacities of their academic administration implemented in local administration organizations, and its empirical data carried out with chi-square, (GFI), and (AGFI), it was stated that the models related to the confirmatory components of the indicators of the secondary education administrators’ capacities of their academic administration implemented in local administration organizations compared with the casual data were significantly different.

In terms of the appropriate indicators of the secondary education administrators’ capacities of their academic administration implemented in pilot educational sites, it was also stated all the aspects of the appropriate indicators leading to the secondary education administrators’ capacities of their effective academic administration implemented in pilot educational sites were averaged at a highest level in terms of their classroom and school researches, learning accomplishment, as well as leadership.

Article Details

How to Cite
สุตะวงค์ ศ., อารีนิจ ท., พุทธประเสิรฐ ช., & อริเดช ป. (2013). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Education and Innovation, 13(3), 21–42. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9379
Section
Research Articles