Study of the Essential Academic English Skill for Graduate Education

ผู้แต่ง

  • Phattareeya Sukprasert Department of Education, Faculty of Education, Kasetsart University, Bangkok
  • Sitthikorn Sumalee Faculty of Education, Kasetsart University, Bangkok

คำสำคัญ:

Academic English Skills, Graduate Education, ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ, บัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

The purposes of the research were 1) to study the problems and needs of English skills of graduate students; and 2) to compare the level of English skills and English skills required of graduate students. A sample of 400 graduate students was selected from the Faculty of Education of the private and public universities in Bangkok Metropolis, using the stratified random sampling to determine the types of universities and simple random for the graduate students personal information. The research instruments were the problems and needs questionnaires. The data were analyzed through percentage, descriptive analysis, narrative descriptions and essay.

The research findings were as follows: 1) graduate students both from public and private universities had problems in academic English skills at 2.96% or at medium level: listening skills are at medium level ( = 2.69), speaking skills ( = 3.19), reading skills ( = 2.76) and writing skills ( = 3.20); 2) graduate students both from public and private universities had needs in academic English skills at 2.93% or at medium level: listening skills are at medium level ( = 2.67), speaking skills ( = 3.17), reading skills ( = 2.69) and writing skills ( = 2.93); 3) Difference in types of universities, ages, majors of study and occupations play a significant difference in problems and needs of academic English skills at the level of .05 whereas genders and levels of education play no significant difference in problems and needs of academic English skills.

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการสำหรับ “การใช้ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการสำหรับการเรียนขั้นบัณฑิตศึกษา” จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทของมหาวิทยาลัย สาขาวิชาเอกและอาชีพ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยซึ่งได้จาก การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ได้แก่ นิสิตนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และ สถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics) ได้แก่ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนมีปัญหาด้านการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ทั้งในด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน คิดเป็นร้อยละ 2.96 หรืออยู่ในระดับปานกลาง 2) นิสิตนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนมีความต้องการด้านการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ทั้งในด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน คิดเป็นร้อยละ 2.93 หรืออยู่ในระดับปานกลาง 3) นิสิตนักศึกษาที่มีความแตกต่างทางด้านอายุ ประเภทมหาวิทยาลัย สาขาวิชาเอก และอาชีพ มีปัญหาและความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตนักศึกษาที่มีความแตกต่างทางด้านเพศ และประเภทมหาวิทยาลัยไม่มีความแตกต่างในด้านปัญหาและความต้องการในใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการสำหรับบัณฑิตศึกษา

Downloads