มุมมองการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสังคม: กรณีศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ วัฒนะ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เฉลิม ฟักอ่อน
  • ธเนศ ดาวรุ่งโรจน์ สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การศึกษานอกระบบ, พัฒนาสังคม, หลักสูตร, ประเมินหลักสูตร, บัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสังคม ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (mixed research method) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตและคณาจารย์ในหลักสูตร ผสมผสานเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนิสิต คณาจารย์ในหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการตรวจสอบข้อมูล พิจารณาความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล จดบันทึกการสัมภาษณ์อย่างละเอียดและสรุปเขียนเป็นข้อความเชิงพรรณา

ผลการศึกษาพบว่า ทั้งนิสิตปัจจุบันและคณาจารย์ในหลักสูตร มีความพึงพอใจระดับมาก ในปัจจัยนำเข้า ได้แก่ หลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิต กระบวนการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านทักษะทางปัญญา 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ 5) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ควรเปิดรายวิชาใหม่เพิ่มมากขึ้น และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยเสริมทักษะความรู้ ประสบการณ์ตรง เพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และการเปิดประตู สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Downloads