การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ สารชีวโมเลกุล และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังความคิด

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี บัวสาลี สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิรินาถ จงกลกลาง ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, แผนผังความคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้  สารชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังความคิด  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ สารชีวโมเลกุล ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังความคิด กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังความคิด หน่วยการเรียนรู้ สารชีวโมเลกุล จำนวน 5 แผน เวลา 15 ชั่วโมง และ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ สารชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนการจัดการเรียนรู้ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.47 คิดเป็นร้อยละ 41.17 หลังจัดการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.93  คิดเป็นร้อยละ 64.83 และคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ สารชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังความคิด ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังความคิด ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.07 คิดเป็นร้อยละ 40.67 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.27 คิดเป็นร้อยละ  57.56 และคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Downloads