ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ คำถามเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชลดา อานี
  • กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์
  • ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ, การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ปีการศึกษา 2558 ทำการคัดเลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่างเข้ารับโปรแกรมสุขศึกษาการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งใช้กลวิธีทางสุขศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามและใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย การอภิปราย การระดมสมองและเกม เป็นเวลาทั้งสิ้น 6
สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ One simple t-test

ผลการวิจัยพบว่า มีประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา คือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพซึ่งประกอบไปด้วย การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การจัดการตนเองและการรู้เท่าทันสื่อของพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง
เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-29