แนะนำหนังสือ แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสู่การปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • นายถวิล ไพรสณฑ์

บทคัดย่อ

จิตตปัญญาศึกษาเป็นหัวข้อการศึกษาอาจจะถือว่าง่ายก็ง่าย จะถือว่ายากก็ยากมาก เพราะไม่ใช่เป็นศาสตร์อย่างวิทยาศาสตร์ทั่วไป แต่เป็นการศึกษาคุณภาพและจิตใจของมนุษย์เป็นสำคัญ ซึ่งการศึกษาตามนัยดังกล่าวคงหนีไม่พ้นการศึกษาทางด้านจิตใจด้วย เพราะมนุษย์ประกอบไปด้วยร่างกาย ซึ่งในทางกายภาพสามารถตรวจสอบและค้นคว้าได้ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยและล้ำยุคในโลกปัจจุบันได้ แต่ในทางจิตใจยังไม่สามารถทำได้ เว้นแต่จะต้องอาศัยพฤติกรรมแต่ละบุคคลมาวิเคราะห์และเชื่อมโยง สมมติว่าคนคนนั้นมีจิตใจเป็นอย่างไร จึงเป็นการยากที่จะให้คำตอบที่ถูกต้องว่า เป็นไปตามที่วิเคราะห์หรือไม่ คงพูดได้แต่เพียงว่า ถ้ามีพฤติกรรมอย่างนั้นแล้วจิตใจของคนคนนั้นจะเป็นอย่างไร จึงเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น การศึกษาเรื่องนี้เพื่อทำให้เป็นระบบคล้าย ๆ ศาสตร์อย่างหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเหมือนที่มีคำพังเพยโบราณนับร้อยปี แต่ก็ยังทันสมัยใช้ได้อยู่ ซึ่งกล่าว
ว่า “จิตมนุษย์นี้ไซร์ยากแท้หยั่งถึง” และหากพูดว่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ รวมทั้งด้านจิตใจ ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่มีโลกและมีมนุษย์แล้ว ไม่ใช่เพิ่งเกิดตอนนี้ แต่เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีมากขึ้นจนเกือบจะถึงที่สุดแล้ว กลุ่มนักคิดจึงจำเป็นต้องหันมาศึกษาเรื่องจิตใจของมนุษย์เพื่อหาความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมนุษย์เอง

ทางผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์) ได้มุ่งมานะศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ และได้นำมาเขียนเป็นเอกสารรูปเล่ม จัดหมวดหมู่ ให้ผู้อ่านได้อ่านเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นและจึงใช้เป็นประโยชน์ของการศึกษาเล่าเรียนของนิสิต นักศึกษา และผู้ใฝ่รู้ทั่วไปอีกด้วย ซึ่งทางผู้เขียนได้แบ่งเนื้อหาเป็น 2 ตอน ได้แก่ตอนที่ 1 เกี่ยวกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ที่ประกอบด้วย 3 บท บทที่ 1 ความหมายของจิตตปัญญาศึกษา ซึ่งในบทนี้
มีจุดประสงค์ให้ผู้อ่านได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ที่มีทั้งคำอธิบายที่เกิดขึ้นจากมุมมองนักคิด นักการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ บทที่ 2 ความเป็นมา แนวคิดและความสำคัญของจิตตปัญญาศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้อ่านได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของหลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับจิตตปัญญาศึกษา ตลอดจนทำให้เข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นของแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนจากผู้ไม่รู้ มาสู่ผู้รู้ และมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพด้านในทั้งด้านจิตใจเพื่อให้เกิดปัญญา บทที่ 3 เป้าหมายปรัชญาพื้นฐานของการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ผู้เขียนมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายและปรัชญาพื้นฐานการจัดากรเรีนรรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและนำไปสู่การเปี่ยนแปลงผู้เรียนด้านการประพฤติ การปฏิบัติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-29