การศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาแรกเข้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Authors

  • Sompon Puangsun

DOI:

https://doi.org/10.14456/edupsru.2019.6

Keywords:

คณิตศาสตร์, ความพร้อมทางการเรียน, นักศึกษาแรกเข้า

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาแรกเข้าของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาแรกเข้าของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2560 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาแรกเข้า จำนวน 302 คน (13 กลุ่มเรียน 10 สาขาวิชา) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบแบบปรนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์การแปรผัน

          ผลการวิจัย พบว่า ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาแรกเข้าของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในระดับน้อย (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.28 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน) โดยในแต่ะละสาขาวิชา มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 10-16 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้สาขาวิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรก ได้แก่ สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาเคมี ตามลำดับ และสาขาวิชาที่มีคะแนนกระจายมากสุดสามลำดับแรก ได้แก่ สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ กลุ่ม 2 และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ กลุ่ม 3 ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จิระ จิตสุภา, ปรัชญนันท์ นิลสุข และนวลศรี สงสม. (2556). ความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิ่ง ประจำปี พ.ศ. 2556, 459-464.
เจษฎา ชวนะไพศาล, พินดา วราสุนันท์ และสามารถ อรัญนารถ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางเลนวิทยา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 297-312.
ชาญชัย อินทรประวัติ. (2560). จิตวิทยาสำหรับครู ตอนที่หนึ่ง : ความพร้อมของผู้เรียน. วันที่สืบค้น 5 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.sut.ac.th/tedu/article/psychology.htm
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. วันที่สืบค้น 10 พฤษภาคม 2560, จาก http://ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/
Oct/1217086.doc
นุชลี อุปภัย. (2555). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย.
ปิยะวดี กิ่งมาลา. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวันสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 6, 310-320.
ศิริจิตร จันทร และธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล. (2555). ความพร้อมในการฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารพยาบาล สภากาชาดไทย, 5(1), 32-45.
สมพล พวงสั้น. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้าสำหรับการหาปริพันธ์. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 3(2), 16-26.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ใยไหม.
Atuahene, F. & Russell, T. A. (2016). Mathematics readiness of first-year university students, Journal of Developmental Education, 39(3), 12-20.
Chiou, C. Y., Ayub, A. F. M. & Luan, W. S. (2010). Students’ readiness in using mathematics online portal: a preliminary study among undergraduates. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 2, 677-681.

Downloads

Published

2019-06-19