อิทธิพลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความสามารถด้านนวัตกรรม โดยส่งผ่านพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของวิศวกรในอุตสาหกรรมยานยนต์ เขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง

Authors

  • กรรณิกา กงกวย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสาร
  • พรรัตน์ แสดงหาญ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อภิญญา อิงอาจ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปนัดดา จั่นเพชร มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม, ความสามารถด้านนวัตกรรม, นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด, ระยอง, human resources development, innovation behavior, innovative capability, eastern seaboard industrial estate, rayong

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากิจกรรมการดำเนินการของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความสามารถด้านนวัตกรรม 2) ศึกษาอิทธิพลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 3) ศึกษาอิทธิพลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความสามารถด้านนวัตกรรม และ 4) ศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งผลต่อความสามารถด้านนวัตกรรมของวิศวกรในอุตสาหกรรมยานยนต์ เขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วิศวกรในอุตสาหกรรมยานยนต์ เขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง จำนวน 117 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลระหว่างปัจจัยด้วยเทคนิคการวัดเส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยในระดับปานกลางเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกด้านของสถานประกอบการ ส่วนการแสดงพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามแสดงพฤติกรรมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และการแสดงความสามารถด้านนวัตกรรมโดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความสามารถอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน รวมถึงผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และความสามารถด้านนวัตกรรม พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และมีอิทธิพลต่อความสามารถด้านนวัตกรรม โดยที่พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมมีอิทธิพลต่อความสามารถด้านนวัตกรรม โดยสามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของความสามารถด้านนวัตกรรมได้ร้อยละ 55

This research aims to study the activities of human resource development, innovation behavior and innovation capability, to study the influence of human resource development on innovation behavior, to study the influence of human resource development on innovation capability, and to study the influence of innovation behavior on the innovation capability of engineers in the automotive industry in Eastern Seaboard Industrial Estate, Rayong. The samples of the research are 117 engineers in the automotive industry. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient, confirmatory factor analysis, and influence path analysis between factors. The research found in general that the respondents agreed on activities in the human resource development in all aspects of the companies at moderate level. For the innovation behavior, the overall respondents showed high level of behavior in all aspects. For the innovation capability, the overall respondents showed moderate level of capacity in all aspects. The results of the study on the relationship between human resource development, innovation behavior, and innovation capability showed the positive relation at 0.5. In addition, human resource development influenced on innovation behavior and innovation capacity. Innovation behavior influenced on innovation capacity. The predictive ability of innovation is 55%.

 

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

เฉลิมพงศ์ มีสมนัย. (2555). การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการฝึกอบรม. รายงานวิจัย, สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ตรีทิพย์ บุญแย้ม. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในระดับบุคคลและระดับกลุ่มงานเพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในบริษัทเอกชนของไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยศรีนคริรทรวิโรฒ.

นพดล เหลืองภิรมย์. (2550). การจัดการนวัตกรรม:การพัฒนาตัวแบบความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักวิจัย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นาฏวดี จำปาดี. (2554). การรับรู้ความสามารถของตนเอง และรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการคำปรึกษาและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประศาสน์ นิยม. (2558). การแบ่งปันความรู้และบรรยากาศองค์การที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความสามารถด้านนวัตกรรม กรณีศึกษา บริษัทในอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ประสิทธิ์ องอาจตระกูล. (2559). HR กับการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารการบริหารตน, 36(1), 33-37.

ประวิทย์ จิตนราพงศ์. (2559). HR กับการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารการบริหารตน, 36(1), 58-61.

ปริญ พิมพ์กลัด. (2557). ปัจจัยของนวัตกรรมองค์กร และองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีอิทธิพลต่อผลการดาเนินงานของสถาบันการเงินผู้ให้บริการด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พิมพ์ลิขิต ทองรอด. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษา บริษัท อินเด็กซ์ครีเอทีฟวิลเลจ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(1), 63-64

พรรัตน์ แสดงหาญ. (2559). นวัตกรรมกับงาน HR. วารสารการบริหารตน, 36(1), 72-75.

พัชนา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่องาน บรรยากาศเชิงสร้างสรรค์กับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิขิต น้าประเสริฐ. (2559). THAILAND 4.0 โฉมหน้าใหม่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.autoinfo.co.th/article/138600/.

วรรณภา วิจิตรจรรยา. (2555). ระบบการประเมินการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อบ่งชี้ความสามารถทางนวัตกรรมขององค์กร. ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา), บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันวิสา จงรักษ์. (2558). กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิภาดา แจ้งเมือง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารและพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nstda.or.th/th/publication/11247-national-economic-social-development-plan-12.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). ไขรหัส "ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/613903.

สุเนตรตรา จันทบุรี. (2559). อุตสาหกรรมยานยนต์:ไทยมีศักยภาพสูงสุดในอาเซียน. เข้าถึงได้จาก https://thailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=5720&filename=king.

เสาวรัตน์ บุญวงศ์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของเทศบาลตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตร์มหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

De Jong, J. (2007). Individual innovation: the connection between leadership and employees’ innovation work behavior. Dissertation Faculty of Economics and Business the Institutional Repository of the University of Amsterdam.

Desimone, Randy L. Jon M. Werner and David M. Harris, ( 2002 ), Human Resource Development, Fort Worth, Texas: Harcourt College Pub.

Fit-enz, J. (2010). The New HR Analytics: Prediction the Econimic Value of Tour Compary's Human Capital Invesm ents. New York, USA: AMACOM.

Ford, C. (1996). A theory of individual creative action in multiple social domains. Academy of Management review, 21(4), 1112-1142.

Hair, J. F. (2010). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kleysen, R. F., & Street, C. T. (2001). Towards a Multi-dimensional measure of individualInnovation behavior. Journal of Intellectual Capital, 2(3), 283-297.

Marko Slavkovi and Verica Babi. (2013). Knowledge Management, Innovativeness, and
Organizational Performance: Evidence From Serbia, Economic Annals, Volume LVIII, No. 199 / October – December 2013 UDC: 3.33 ISSN: 0013-3264.

Mohamed Sulaiman. (2011). Impact of Organizational Innovation On Firm Performance :
Evidence From Malaysian-Based ICT Companies Business and Management Review
Vol. 1(5) pp. 10 – 16, July, 2011 ISSN: 2047 – 0398.

Swanson, R. A. (2001). Foundations of human reource development. San Franciso: Berrett-Koehler.

Veersma, U. (2000). Imcremental innovation and HR Practice: Some Evidennce from a Dutch Truck Producer. Management Research News, 23(9-11), 151.

Downloads

Published

2018-10-08