การศึกษาเจตคติและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

Authors

  • นางวิจิตรา โสเพ็ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/edupsru.2019.7

Keywords:

: เจตคติที่มีต่อการเรียนรู้ , ความคงทนในการเรียนรู้, คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ,, attitudes towards learning, retention of learning , English Mathematics Vocabulary

Abstract

การศึกษาเจตคติและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ  และศึกษาความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ หลังจากเรียนโดยใช้บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครูคณิตศาสตร์  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน  60  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาอังกฤษ ซึ่งแบบทดสอบฉบับนี้ใช้ในศึกษาความคงทนในการเรียนรู้หลังการเรียนผ่านไปแล้ว  14  วัน  และแบบวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย และ สถิติ  t-test  

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. คะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 92 ซึ่งแปลความได้ว่านักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อ

การเรียนรู้คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ 

  1. ความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษา เรื่อง คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ หลังเรียน

โดยใช้บัญชีคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ  และหลังการเรียนผ่านไปแล้ว  14  วัน  ไม่แตกต่างกัน

 

A Study of Attitudes and Retention in Learning English Mathematics Vocabulary Using the English Mathematics Vocabulary Account in the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) : Mathematics Learning Areas

          This research aims to study the attitudes towards learning English mathematics vocabulary using a English mathematics vocabulary account and to study the retention of learning English mathematics vocabulary after studying with an English mathematics vocabulary account. The target audience for the research was 60 students in 1st year Mathematics student enrolled in English for Mathematics teachers in the first semester of academic year 2017. The instruments used in the research were: A mathematical English terminology account in the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) : Mathematics Learning Areas , the Mathematical terminology is English achievement test  which this test is used to study the retention of learning after 14 days , and a measure of attitudes towards English vocabulary learning.  Statistics analyze the data using the average method and t-test.           

The research found that:            

          1.  The mean score of the questionnaire was 3.92 which can be said that students have positive attitude towards learning English Mathematics vocabulary using a English Mathematics vocabulary account.           

          2. The retention of learning English Mathematics vocabulary after studying with an English Mathematics vocabulary account and the retention of learning after 14 days not different.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดวงเดือน แสงชัย. (2542). การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการพัฒนาวัตกรรมการศึกษา. (2549). โครงการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. สืบค้นวันที่
11 ตุลาคม 2560). http://www.moe.go.th/5TypeSchool/schooleng.htm.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2530). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์การพิมพ์.
ปัญจลักษณ์ ถวาย. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่เรียนโดย
ใช้แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์, 10 (2 พฤษภาคม – สิงหาคม), 55 – 72. กรุงเทพ ฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค
จำกัด.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มสท์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพ ฯ :
บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
เสาวลัษณ์ หล้าสิงห์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้การสอน
แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทสัมผัสและอวัยวะรับความรู้สึก
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E – Journal, Silpakorn University ฉบับ
ภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8 (1 มกราคม – เมษายน), 1248.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Adam, J.A.. (1969). Human Memory. New York : McGraw – Hill.
Lado, R.. (1988). Language Teaching :Teaching English Across Cultures. New York : McGraw–
Hill.
Min, H. T. & Hsu, W. S.. (1997). The Impact of Supplemental Reading on Vocabulary
Acquisition and Retention with EFL Learners in Taiwan, Journal of
National Taiwan Normal University. 53 (1), 83 – 115.
Thorn, S. (2002). How to teach vocabulary. Harlow Essex : Pearson Education.

Downloads

Published

2019-06-19