ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตลิ่งชันวิทยา โดยใช้แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการตั้งคำถามผู้เขียน English Reading Ability of Grade 10 Students of Talingchan Wittaya School Using Questioning to the Author Strategy Exerci

Authors

  • พัชราวลัย อินทร์สุข สำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

DOI:

https://doi.org/10.14456/edupsru.2019.12

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการตั้งคำถามผู้เขียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตลิ่งชันวิทยา จำนวน 31 คน ภาคเรียนที 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 9 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการตั้งคำถามผู้เขียน แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีการตั้งคำถามผู้เขียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านด้วยภาษาอังกฤษกลวธีการตั้งคำถามผู้เขียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test Dependent)

ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกอยู่ในระดับมาก

          The objectives of this study were to 1) compare the English reading ability and satisfaction of tenth grade students of Talingchan Wittaya School after the implementation of questioning the author strategy exercise. The instruments used in this research were lesson plans, questioning to the author strategy exercises, an English reading ability test and a satisfaction questionnaire.  The study was one group pre-posttest design and it took 9 weeks. Data were analyzed by means, Standard Deviation and t-test Dependent

          The results revealed that: 1) the students gained significantly higher scores for English reading ability at .05 level after using questioning to the author strategy exercises; and 2) the result of satisfaction on studying with questioning the author strategy was rated at a high level

 

References

โครงการ PISA Thailand สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA
2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สืบค้น 30 เมษายน 2559 จาก
https://www.tkpark.or.th
เด่นติศักดิ์ ดอกจันทร์. (2556). ผลของการสอนกลวิธีการตั้งคำถามที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ
และ การใช้รูปกาลของนิสิตใหม่ที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 5(2): 32-45.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2557). รายงานผลการทอสอบ O-NET ระดับประเทศ. สืบค้น 28
เมษายน 2559 จาก www.niet.or.th
สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์. (2536). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2545). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อ
การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
วิสาข์ จัติวัตร์. (2543). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม, คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เอกรินทร์ สังข์ทอง และทยภร กระมุท. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องผลของการสอนอ่านด้วยกลวิธีการตั้ง
คำถามผู้เขียนที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ การสรุปความ และเจตคติทางด้านการ
เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Anderson, N. J. (2003). Active Skills for Reading Student Book 3, 4. Thomson Corporation
Singapore: Heinle.
Baleghizadeh, S. (2011). The impact of students’ training in questioning the author technique
on EFL reading comprehension. Procedia-Social and Behavioral Sciences. (29)2011:
1668-1676.
Beck, Isabel L. & McKeown, Margaret G. (2006). Improving Comprehension with Questioning
the Author: A Fresh and Expanded View of a Power Approach. New York: Scholastic.
Beck Isabel L.; et al. (1996). Questioning the author: A yearlong classroom implementation
to engage students with texts. The Elementary School Journal. 96(4): 387-414.
Christina, C. & Rumbold, K. (2006). Reading for pleasure: A research overview.
London: National Literacy Trust.
Day, R., R. & Bamford, J. (1998). Extensive Reading in the Second Language Classroom.
New York: Cambridge University Press.
Elder, L. & Paul, R. (2007). The thinker’s guide to analytic thinking. Dilon Beach: Foundation
for Critical Thinking.
Jones, G. & Brader-Araje, L. (2001). The Impact of constructivism on education: language,
discourse, and meaning. American Communication Journal. (5), 3.

Downloads

Published

2019-06-19