ความต้องการจำเป็นในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านมุมมองของนักศึกษา ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศและผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

มัฮดี แวดราแม
อาฟีฟี ลาเต๊ะ
สุพรรษา สุวรรณชาตรี
นูรอาซีกีน ยีสมัน
ฮามีด๊ะ มูสอ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านมุมมองของนักศึกษา ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศและผู้บริหารสถานศึกษา ตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จำนวน 580 คน ครูพี่เลี้ยงจำนวน 100 คน อาจารย์นิเทศจำนวน 20 คน และ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 39 คน ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพได้เลือกผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยนักศึกษาจำนวน 27 คน ครูพี่เลี้ยงจำนวน 30 คน อาจารย์นิเทศจำนวน 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินสภาพที่เป็นจริง และสภาพที่คาดหวังของหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ แบ่งเป็น 4 ชุดสำหรับนักศึกษา ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารสถานศึกษาแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลสภาพที่เป็นจริง และสภาพที่คาดหวังของหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Priority Needs Index; PNImodified)
 ผลการวิจัยพบว่า การประเมินความต้องการจำเป็นสะท้อนให้เห็นว่าความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างมากน้อยกันไปตามประเด็นของการประเมิน อาทิ นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนมีความต้องการจำเป็นต่อการจัดสรร เวลาของครูพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาการทำวิจัยในชั้นเรียน ตลอดจนการให้การสนับสนุนด้านสื่อการเรียนการสอน ในขณะที่ครูพี่เลี้ยงมีความต้องการจำเป็นต่อการประสานงานจากผู้ดูแลระบบประจำคณะ และความเป็นห่วงต่อความเข้าใจของผู้ปกครองนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่ของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน รวมทั้งการให้ข้อมูลย้อนกลับจากอาจารย์นิเทศ สำหรับอาจารย์นิเทศมีความต้องการจำเป็นต่อการให้การสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียน รวมถึงการพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครูแก่นักศึกษาปฏิบัติการสอน ในขณะที่ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการจำเป็นต่อการให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ของครูพ่ีเลี้ยงทั้งในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน การสร้างสื่อนวัตกรรม รวมถึงการประสานงานจากผู้ดูแลระบบประจำคณะที่เป็นระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย