ศิลปะเพื่อสันติภาพสำหรับเยาวชนสามจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

รุซณี ซูสารอ
ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์

บทคัดย่อ




งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบงานศิลปะเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ และวิธีการสร้างศิลปะ เพ่ือสันติภาพสำหรับเยาวชน รวมถึงนำความรู้ท่ีได้ไปพัฒนาเยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนใต้ตามแนวทางศิลปะเพื่อ สันติภาพของศิลปินในพื้นท่ี โดยเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก, การสนทนากลุ่ม และการปฏิบัติการอบรมพัฒนาเยาวชน ประเมินผลการพัฒนาเยาวชน เพื่อเป็นแนวทางการนำไป ใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะสันติภาพต่อการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ความไม่สงบ


ผลการศึกษาได้ผลสรุป ดังนี้ 1. วิธีการศึกษารูปแบบงานศิลปะเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ เป็นการศึกษา ถอดบทเรียนจากผลงานศิลปะในพื้นท่ี โดยรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นศิลปิน ในพื้นที่จากประสบการณ์ในการทำงานของศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานเชิงสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้จำแนก แบ่งเป็น 3 สาขา ประกอบด้วย 1) ศิลปินสาขาจิตรกรรม 2) ศิลปินสาขาการถ่ายภาพ และ 3) ศิลปินสาขาภาพยนตร์ สั้น สาขาละ 5 คน รวมทั้งส้ิน 15 คน ศิลปะเพื่อสันติภาพที่ได้จากการศึกษามีรูปแบบดังนี้ รูปแบบของผลงานท่ีได้ ถ่ายทอดนั้นส่วนใหญ่เป็นรูปธรรม เน้นเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ สถานท่ีท่องเท่ียว และรวมไปถึงศิลปวัฒนธรรม รูปแบบท่ีนำเสนอของศิลปินทั้งหมดร้อยละ 90 เป็นศิลปะเชิงบวก นำเสนอความสงบสุข ความงาม มีความเชื่อมั่น ถึงการเปลี่ยนแปลงเยาวชนด้วยศิลปะเพื่อสันติภาพ และจะนำไปสู่ความคิดเจตคติท่ีดีต่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วย เคร่ืองมือทางศิลปะ 2. วิธีการสร้างศิลปะเพื่อสันติภาพสำหรับเยาวชน นำข้อมูลท้ังหมดมาถอดบทเรียน โดยใช้วิธี การสนทนากลุ่มเพื่อวางแผนและออกแบบการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเยาวชน ได้วิธีการพัฒนากลุ่มเยาวชน เป็นขั้นตอนการสอดแทรกไปในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานโดย 1) สร้างทัศนคติเชิงบวกต่อเหตุการณ์ในพื้นที่ 2) ถ่ายทอดผลงานเชิงสัญลักษณ์ที่ดีงามที่มีอยู่ในพื้นท่ี เพื่อให้เป็นรูปธรรมต่อการสร้างสันติภาพสำหรับเยาวชนด้วย ศิลปะให้มากท่ีสุด การคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมการอบรมได้แก่เยาวชนอายุตั้งแต่ 14-18 ปี ในโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาซึ่งเป็นพื้นที่เคยประสบเหตุความไม่สงบตามความสนใจในศิลปะ 3 สาขา อันได้แก่ 1) สาขาจิตรกรรม 2) สาขา การถ่ายภาพ และ 3) สาขาภาพยนตร์สั้น โดยเลือกเยาวชนที่เข้าร่วมการอบรมสาขาละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน เพื่อปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อสันติภาพให้เป็นรูปธรรม ซึ่งแบ่งการอบรมเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ 1) เป็นการอบรม ถ่ายทอดทัศนคติต่อการสร้างสันติภาพในพื้นท่ีให้กับเยาวชนเพื่อปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อสันติภาพ ช่วงท่ี 2) เป็นการอบรมการนำเสนอและวิจารณ์ผลงานจากทีมวิทยากรแต่ละสาขา เพื่อนำไปสู่การการจัดนิทรรศการ สำหรับเยาวชน




Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รุซณี ซูสารอ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ค.ม. (ศิลปศึกษา), อาจารย์ ภาควิชาการศึกษา 

ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ค.ม. (ศิลปศึกษา), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการศึกษา