ความสามารถในการใช้การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
สุลัดดา ลอยฟ้า

บทคัดย่อ

การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ถูกนำมาปรับใช้เพื่อปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 (Inprasitha, 2011) ในบริบทของชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด สัมพันธ์  ถิ่นเวียงทอง (2555) ได้สังเคราะห์กรอบเชิงทฤษฎี             “ไตรสาร (Triad Feedback)” เพื่อใช้ศึกษาการสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ การศึกษานี้ ได้นำกรอบเชิงทฤษฎีไตรสารมาใช้ในชั้นเรียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Inprasitha, 2014) ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์เพื่อเรียนรู้คณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 147 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการทดลองเกี่ยวกับการสอน มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับแนวทางการสอนที่เน้นการสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์ให้กับครูผู้สอน จำนวน 22 คน จาก 5 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการของศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ปีการศึกษา 2557 รวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกวีดิทัศน์และตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้กรอบเชิงทฤษฎีไตรสาร และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในทุกชั้นเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนมีความสามารถในการใช้การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์เพื่อเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขั้นที่สองของวิธีการแบบเปิด (ขั้นนักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง) ที่แยกเป็น 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ การแก้ปัญหาคนเดียว การแก้ปัญหาเป็นคู่ และการแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม ถือเป็นยุทธวิธีการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนใช้การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์เพื่อเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย และนักเรียนมีเจตคติทางบวกต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิดประสบการณ์เชิงอารมณ์หลายๆ ครั้ง ในการสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุลัดดา ลอยฟ้า, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

ธีระ รุญเจริญ. (2556). วิกฤติและทางออกในการบริหารและจัดการการศึกษา (ไทย). Journal of Graduate Studies Kalasin Rajabhat University, 1(1): 5-9.

นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study): นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประเวศ วะสี. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พัฒตราพร สงสุรินทร์, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม และเทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ประยุกต์รูปแบบแกรฟฟิติ (Graffiti) เรื่องการแปรผันที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(2), 71-85.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2557). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ วันที่ 1 เมษายน 2557.

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2555). การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนในบริบทการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัมมาร สยามวาลา, ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ และ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2555). การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

Baba, T. (2007). Japanese Education and Lesson Study: An Overview. In M. Isoda, M. Stephen, Y. Ohara & T. Miyakawa (Eds.). Japanese Lesson Study in Mathematics: Its Impact, Diversity and Potential for Educational Improvement. (pp. 2-7). Singapore: World Scientific Publishing.

Cathcart, R. S., Samovar, L. A. & Henman, L. D. (1996). Small Group Communication: Theory & Practice. Dubuque: A Times Mirror.

Emori, H. (2005). The Workshop for Young Mathematics Educations in Thailand 2005 Building up the Research Agenda for the next 10 year, 2006 -2015. Khon Kean: Khon Kean University.

Inprasitha, M. (2006). Open-ended approach and teacher education, Tsukuba Journal of Educational Study in Mathematics, (25), 169-178. (Available at : http://www.criced.tsukuba.ac.jp/ math/apec2006/ Tsukuba_Journal_25.pdf)

Inprasitha, M. (2001). Emotional Experience of Students in Mathematical Problem Solving. Doctoral Dissertation. University of Tsukuba, Japan.

Inprasitha, M. (2007). Lesson Study in Thailand. In M. Isoda, M. Stephens, Y. Ohara and T. Miyakawa (Eds.). Japanese Lesson Study in Mathematics: Its Impact, Diversity and Potential for Educational Improvement. (pp. 188-193). Singapore: World Scientific Publishing.

Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47-66.

Inprasitha, M. (2014). The Students’ Mathematical Higher Thinking Development Project in Northeastern of Thailand. Khon Kaen: Center for Research in Mathematics Education.

Kagan, S. (1994). Cooperative Learning. San Clemente, CA: Kagan Publishing.

Organisation for Economic Co-operation and Development. (2015). PISA key finding (PISA, 2000, 2003, 2006, 2009, 2012). (Available at: http://www.oecd.org/pisa/keyfindings/).

Steffe, L. P. & Thomson, P. W. (2000). Teaching Experiment Methodology: Underlying Principles and Essential Elements. In A. E. Kelly & R. A. Lesh (Eds.). Handbook of Research Design in. Mathematics and Science Education. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Smith, J. P. (1996). Efficacy and teaching mathematics by telling: A challenge for reform. Journal for Research in Mathematics Education, 27(4): 387-402.

Thinwiangthong, S. (2011). Verification of Triad Feedback- The Unit of Analysis of Small-group Mathematical Communication. In B. Ubuz (Ed.). Proceedings of the 35th Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME35). Vol. 1. (p. 402). Ankara, Turkey: PME.

Thinwiangthong, S., Inprasitha, M. and Loipha, S. (2012). Adaptation of Lesson Study and Open Approach for Sustainable Development of Students’ Mathematical Learning Process. Psychology, 3(10): 1-6.

TIMSS and PIRLS International Study Center. (2015). Mathematics Achievements Report (TIMSS, 1995, 1999, 2003, 2007, 2011, 2015). (Available at: http://timssandpirls.bc.edu/).

Underwood, C. (2003). Belief and Attitude Change in the Context of Human Development. In I. Sirageldin (Ed.). Sustainable Human Development in The Twenty-First Century – Vol. II. (pp. 103-124). UNESCO, Oxford: Eolss Publishers.

Zan, R., Brown, L., Evans, J. & Hannula, M. S. (2006). Affect in Mathematics Education: An Introduction. Educational Studies in Mathematics, 63(2): 113-121.