การพัฒนาแบบทดสอบการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินของ PISA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

สุไกย๊ะ สุไกย๊ะ ลิมาน
ศุภลักษณ์ สินธนา
วรพจน์ แซ่หลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวบ่งชี้การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาแบบทดสอบและหาเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินของ PISA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย นักวิชาการสาขาวิชาคณิตศาสตร์, ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสบการณ์การสอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาแบบทดสอบ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
การสนทนากลุ่ม และแบบทดสอบการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ ฯ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ มี 12 ตัวบ่งชี้  แบบทดสอบการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีจำนวน 29 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (IOC) ตั้งแต่ 0.6 ถึง 1.00 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.15
ถึง 0.86 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.17 ถึง 0.69 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และมีคะแนนทีปกติตั้งแต่ T23 ถึง T75

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศุภลักษณ์ สินธนา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

เลขที่ 133 ถนนเทศบาล 3 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 โทรศัพท์ 0-7329-9626 โทรสาร 0-7329-9627

วรพจน์ แซ่หลี, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

เลขที่ 133 ถนนเทศบาล 3 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 โทรศัพท์ 0-7329-9626 โทรสาร 0-7329-9627

References

กมลทิพย์ ลิขิตเจริญธรรม. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลนานาชาติ PISA. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
จารุนันท์ ขวัญแน่น. (2558). การพัฒนารูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ และสุพจน์ ไชยสังข์. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์การสอบพิซ่าและโอเน็ตของสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ เพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
บุญส่ง นิลแก้ว. (2542). การประเมินโครงการทางการศึกษา. เอกสารประกอบวิชา ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). “ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ”, วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 27(1), 145-163.
ภูวเดช วรโภชน์. (2559). การศึกษาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
วิลาวรรณ บุพเต. (2560). การศึกษาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_______. (2557). ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ PISA 2012. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_______. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_______. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw-Hill.