การพัฒนารูปแบบกลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการมีจิตอาสา เสียสละ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

Main Article Content

อมลวรรณ วีระธรรมโม
วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน
สุเทพ สันติวรานนท์
ชวพงษ์ เมธีธรรมวัฒน์
ฐากร สิทธิโชค

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการมีจิตอาสา เสียสละเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบและกลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาด้านการมีจิตอาสา เสียสละเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 2) ปฏิบัติการใช้รูปแบบและกลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาด้านการมีจิตอาสา เสียสละเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีวิธีดำเนินการศึกษา ดังนี้


ตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบและกลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  


ตอนที่ 2 ปฏิบัติการใช้รูปแบบและกลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษา ในสถานศึกษาจำนวน 5 โรงเรียน


ผลการวิจัย


  1. 1. จากการสังเคราะห์การดำเนินงานด้านวินัยในสถานศึกษาด้านจิตอาสา เสียสละ เห็นอกเห็นใจผู้อื่นในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การระดมสมอง และวิพากษ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าหลักการสำคัญในการเสริมสร้างวินัยด้านจิตอาสา เสียสละ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีดังนี้

1) ให้ความสำคัญกับตัวนักเรียน(Human Oriented) ในมิติความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Right)


2) เน้นการปรับเปลี่ยนเจตคติที่เกิดจากความต้องการเปลี่ยนจากภายในตัวตนของนักเรียน (Internal Change)


3) ใช้กิจกรรมเป็นฐานในการสร้างเตคติที่ดีและเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืน (Active Learning for Sustainable)


4) ความตั้งใจจริงใจ ใส่ใจ จริงจังต่อเนื่องของบุคคลที่เกี่ยวข้อง (Caring and Continuing)


5) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (Participation)


6) ยึดหลักการครูคือผู้สร้างผู้เรียนที่มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม มีกระบวนการคิดและกระบวนการปัญญา            ( Teacher as Student Contributors )


  1. ผลการนำรูปแบบและกลไกไปใช้ในสถานศึกษา

1) ระดับวินัยในสถานศึกษาแต่ละด้านและภาพรวม เมื่อประเมินโดยตนเอง เพื่อน และ ครู พบว่า นักเรียนประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อน อยู่ในระดับมาก แต่ประเมินโดยครูอยู่ในระดับปานกลาง


2) ระดับวินัยในสถานศึกษาแต่ละด้านและภาพรวม เมื่อประเมินโดยตนเอง เพื่อน และ ครู ระหว่างใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อน และประเมินโดยครูอยู่ในระดับมาก  


3)  ระดับวินัยในสถานศึกษาแต่ละด้านและภาพรวม เมื่อประเมินโดยตนเอง เพื่อน และ ครู หลังใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อน และประเมินโดยครูอยู่ในระดับมาก 


4) ความสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างผลการประเมินวินัยนักเรียนภาพรวม ประเมินโดยตนเอง โดยเพื่อน และ โดยครู  มีความสัมพันธ์กัน(ทิศทางบวก) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


5) ผลการเปรียบเทียบวินัยในสถานศึกษาแต่ละด้านและภาพรวมก่อนใช้รูปแบบ กับ ระหว่างใช้รูปแบบซึ่งประเมินโดยนักเรียน พบว่า ระหว่างใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


6) ผลการเปรียบเทียบวินัยในสถานศึกษาแต่ละด้านและภาพรวมก่อนใช้รูปแบบ กับ หลังใช้รูปแบบซึ่งประเมินโดยนักเรียน  พบว่า หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยของความสำเร็จ


ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ประกอบด้วย


  1. ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้ที่คอยสนับสนุนในระดับนโยบาย สร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินการพัฒนาเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ผู้บริหารเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการบูรณาการด้านวินัยสู่สถานศึกษา โดยทำหน้าที่เป็นโค้ช พี่เลี้ยง คอยกำกับ ติดตาม และให้กำลังใจให้แก่ครูในการเสริมสร้างวินัยให้แก่นักเรียน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาเป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

  2. ครูเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในฐานะผู้สร้างและผู้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน ครูเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนวินัยในสถานศึกษา เป็นผู้ที่ใกล้ชิดนักเรียนในฐานะผู้ร่วมออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการในห้องเรียนและกิจกรรมนอกห้องเรียนร่วมกับนักเรียน ครูถือเป็นตัวแบบในด้านวินัยของนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน

  3. นักเรียนเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดพฤติกรรมด้านวินัย ดังนั้น นักเรียนควรได้มีส่วนร่วมในการคิด ออกแบบกิจกรรมในการเสริมสร้างวินัยด้วยตนเองด้วย ในความเป็นจริงนักเรียนมีศักยภาพและมีความปรารถนาที่จะเป็นคนดี มีวินัยอยู่ภายในตัวเอง หากเปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ซึ่งจะทำให้เกิดคุณลักษณะด้านวินัยที่ยั่งยืน

ผู้ปกครอง ชุมชน เป็นกลุ่มบุคคลที่จะเชื่อมโยงวินัยจากสถานศึกษาไปสู่บ้านและชุมชน กลุ่มบุคคลเหล่านี้ควรได้มีส่วนร่วมรับรู้ในการสานต่อกิจกรรมการเสริมสร้างวินัยของนักเรียนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เลขที่ 140 หมู่ 4 ถนน กาญจนวนิช ตำบล เขารูปช้าง  อำเภอ เมือง  จังหวัดสงขลา, ประเทศไทย  โทรศัพท์ : 074-317682 หรือ 074-317600 ต่อ 3101  แฟกซ์ : 074-317682

 

สุเทพ สันติวรานนท์, คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Faculty of Education and Liberal Arts) 
125/502 ถ.พลพิชัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
Tel.0-7420-0300 ต่อ 357, 358, 384 Fax : 0-7420-0354 E-mail : [email protected]

ชวพงษ์ เมธีธรรมวัฒน์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ เลขที่ 140 หมู่ 4ถนน กาญจนวนิช ตำบล เขารูปช้างอำเภอ เมือง  จังหวัดสงขลา, ประเทศไทย  โทรศัพท์ : 074-317682 หรือ 074-317600 ต่อ 3101  แฟกซ์ : 074-317682

 

ฐากร สิทธิโชค, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

-

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543 , มกราคม - มีนาคม). “โรงเรียนสร้างคนมีจิตสาธารณะ”.การศึกษา. 2000. 65(3) : 17.

ชาย โพธิสิตา และคณะ. (2540). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง จิตสำนึกต่อสาธารณะสมบัติ : ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธ.ธรรมศรี. (2513). ชาวพุทธควรรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ.

พระเทพวิมลโมลี. (2528). จิตวิทยาความมั่นคง . กรุงเทพมหานคร

พระไพศาล วิสาโล. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการจัดการความดี ศึกษากรณีมูลนิธิพุทธฉือจี้. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.

Tucker, W. J. (2009). Public Mindedness an Aspect of Citizenship Considered. BilioLife Publisher.