รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

มณฑกานต์ ตลึงจิตร
ประกอบ ใจมั่น
สืบพงศ์ ธรรมชาติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


วัตถุประสงค์การวิจัยนี้ ประกอบด้วย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ 2) เพื่อประเมินทักษะการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 จำนวน 32 คน ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากการวิเคราะห์องค์ประกอบและขั้นตอนของ พบว่า  มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ คือ 1) ทฤษฏี หลักการ แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหา 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5) เทคนิควิธีการสอน 6) การวัดและประเมินผล  ผลการวิเคราะห์ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น HAPPY  MODEL มี 5 ขั้นตอน  คือ  ขั้นที่ 1  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน(Heavenly Stage)  ขั้นที่2  ขั้นเรียนรู้ (ActiveLearning Stage) 3. ขั้นฝึก (Practice Stage) 4. ขั้นการจัดการความรู้และประมวลผล (Processing Stage) 5. ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ด้วยตัวเอง (Yourself application Stage)  ผลการประเมินการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปรากฎว่า  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญที่ .05  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญที่ .05 ประสิทธิผลของรูปแบบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับมาก  ครูผู้สอน ผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นต่อ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มณฑกานต์ ตลึงจิตร, 0838639061

นางมณฑกานต์  ตลึงจิตร  นักศึกษาปริญญาโท คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช สาขา การจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา 

ประกอบ ใจมั่น, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

-

สืบพงศ์ ธรรมชาติ, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

-

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พาณิช. (2554). การเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัทตถาดา พับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2551). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 2 (พ.ศ. 2549-2553). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุดทอง.

Guskey, T, R. (2000). Evaluation professional development. California: A Sage Publication Company.

Mayer, B. (1997). The Org anization of Prose and Its Effects on Memory. Amsterdam North Holland.